ของโบราณ,ของสะสม,ของเก่าโบราณ,ของเก่ามีราคา,ตลาดค้าของเก่า.ของเก่าวันนี้,antiquetoday

ของโบราณทรงคุณค่าของไทย

Thursday, November 2, 2017

ลอดช่องสิงคโปร์


ลอดช่อง


ลอดช่อง
ข้อมูลจุดกำเนิด
ชื่ออื่นMont let saung (พม่า) เซนดอล (มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย) ดาเวต (เกาะชวา)
ประเทศกำเนิด:เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อมูลอาหาร
ส่วนประกอบหลักกะทิ, แป้งใส่สีเขียว, น้ำแข็งไส, น้ำตาลมะพร้าว

ดาเวต ที่ขายในตลาดที่มาลัง ชวาตะวันออก ประมาณ พ.ศ. 2478
ลอดช่อง คือ ขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบ เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทยชนิดหนึ่ง มีจุดกำเนิดร่วมในทั่วทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศ อินโดนีเซีย โดย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เรียกว่า เชนดอล (cendol; /ˈtʃɛndɒl/; 珍多冰; Zhēn duō bīng; เจิน โตว ปิง) อีกทั้งแพร่หลายใน พม่า (เรียกว่า မုန့်လက်ဆောင်း; Mont let saung) เวียดนาม และสิงคโปร์
ต่อมาในประเทศไทย ราวปี พ.ศ. 2504 ได้เกิด ขนมลอดช่องที่แตกแขนงออกมาอีกชนิดนึง คือ "ลอดช่องสิงคโปร์" ทำด้วยแป้งมันสำปะหลังแทนที่จะเป็นแป้งข้าวเจ้าตามแบบลอดช่องดั้งเดิม ชื่อนี้ไม่ได้เกิดจากการนำมาจากสิงคโปร์แต่อย่างใด ประเทศไทยเป็นผู้คิดค้น โดยร้าน "สิงคโปร์โภชนา" ซึ่งเป็นร้านอาหารตั้งอยู่ที่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์หรือโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช จึงเป็นที่มาของ "ลอดช่องสิงคโปร์"


รากศัพท์

ในอินโดนีเซียเชื่อว่า เชนดอลมีความเกี่ยวข้องกับคำ jendol ในภาษาชวา ภาษาซุนดาและภาษาอินโดนีเซีย หมายถึง โหนก หรือ โป่ง ซึ่งมีความหมายโดยนัยหมายถึงเยลลี่ที่มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน ในเวียดนาม เรียกว่า bánh lọt, " ซึ่งเป็นส่วนผสมของขนมที่ชื่อ chè หรือ chè ba màu

ส่วนผสม

ส่วนผสมทั่วไปของลอดช่องสิงคโปร์คือกะทิ แป้งปั้นเป็นรูปแท่งใส่สีเขียว โดยปกติมาจากใบเตย น้ำแข็งปั่นและน้ำตาลมะพร้าว ส่วนผสมเพิ่มอื่นๆได้แก่ ถั่วแดง ข้าวเหนียวเฉาก๊วย ในซุนดา ลอดช่องสิงคโปร์เป็นขนมทำจากแป้งหรือสาคูปั้นเป็นแท่ง กินกับกะทิและน้ำเชื่อมจากน้ำตาลของต้นหมาก ไม่ใส่น้ำแข็ง ในภาษาชวา เชนดอล หมายถึงส่วนที่เป็นแป้งสีเขียวเท่านั้น ถ้านำเชนดอลมารวมกับน้ำตาลมะพร้าว และกะทิจะเรียกดาเวต ดาเวตที่นิยมมากที่สุดคือ เอส ดาเวตในชวากลาง ด้วยอิทธิพลจากสิงคโปร์ และอาหารตะวันตก ทำให้มีลอดช่องสิงคโปร์รูปแบบแปลกๆ เช่น กินกับไอศกรีมวานิลลาหรือทุเรียน

การจำหน่าย

เชนดอลเป็นขนมที่นิยมทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิยมขายทั้งในศูนย์อาหาร ข้างถนนและที่อื่นๆ ลอดช่องสิงคโปร์หรือดาเวตดั้งเดิมไม่กินกับน้ำแข็ง แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำให้มีเซนดอลเย็นกินกับน้ำแข็ง (เอส เซอรัต) เป็นไปได้ว่าในแต่ละประเทศมีสูตรเฉพาะของตนเอง โดยเฉพาะเมืองเก่าของมาเลเซีย เช่น มะละกา ปีนัง และกัวลาลัมเปอร์

วิกิพีเดีย
https://goal90antique.blogspot.com

1 comment:

  1. ภาพนั้นลอดช่องไทยครับ ลอดช่องสิงคโปร์ใช้แป้งมันนุ่มลื่น ผ่านการนวดแป้งด้วยร้ำเดือดร้อนจัด นวดขึ้นรูปตัดเส้น ไม่มีการใช้น้ำปูนใสในการกวนกดหยอดครับ

    ReplyDelete