ของโบราณ,ของสะสม,ของเก่าโบราณ,ของเก่ามีราคา,ตลาดค้าของเก่า.ของเก่าวันนี้,antiquetoday

ของโบราณทรงคุณค่าของไทย

Monday, October 9, 2017

ของขวัญดัตช์


ของขวัญดัตช์



“ภาพเหมือนของจาโคโป ซานนาซาโร” โดย ทิเชียน, ราว ค.ศ. 1514-ค.ศ. 1518

ของขวัญดัตช์ ของปี ค.ศ. 1660 (อังกฤษDutch Gift) คือภาพเขียนจำนวน 28 ภาพที่ส่วนใหญ่เป็นภาพเขียนจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี, ประติมากรรมคลาสสิก 12 ชิ้น และเรือยอชต์หลวง “แมรี” (HMY Mary) และเฟอร์นิเจอร์ที่รัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์


ถวายให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1660 เนื่องในโอกาสที่ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์ ก่อนหน้าที่จะเสด็จกลับอังกฤษไปขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ประทับลี้ภัยอยู่ในสาธารณรัฐดัตช์เป็นเวลาหลายปี ระหว่างที่อังกฤษตกอยู่ในสมัยที่เรียกว่า “สมัยไร้กษัตริย์” ที่ปกครองภายใต้ระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ วัตถุประสงค์ของการถวายของขวัญเหล่านี้ก็เพื่อเป็นการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างอังกฤษและสาธารณรัฐดัตช์ แต่เพียงไม่กี่ปีหลังจากนั้นสองชาติก็เข้าสู่สงครามกันอีกครั้งหนึ่งในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองระหว่างปี ค.ศ. 1665-ค.ศ. 1667
ภาพเขียนส่วนใหญ่และประติกรรมทั้งหมดมาจากงานสะสมศิลปะเรย์นสท์ ซึ่งเป็นงานสะสมงานศิลปะอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่สำคัญที่สุดของดัตช์ ที่สะสมโดยพ่อค้าชาวดัตช์ยาน เรย์นสท์ (Jan Reynst) และเพิ่มเติมต่อมาโดยพี่ชายเกอร์ริท เรย์นสท์ (Jan Reynst) งานศิลปะที่ถวายเป็นงานที่สะท้อนถึงพระราชนิยมทางศิลปะของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ที่ทรงมีร่วมกับพระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ผู้ทรงมีงานสะสมที่เป็นเยี่ยมที่สุดงานหนึ่งในยุโรป แต่มาถูกขายไปในต่างประเทศหลังจากที่ทรงถูกปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1649 ในด้านการสะสมศิลปะ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ไม่ทรงมีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหางานสำหรับการสะสมเท่ากับพระราชบิดา แต่ทรงมีความซาบซึ่งในคุณค่าของงานศิลปะ และต่อมาก็ทรงสามารถเสาะหางานต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนสงครามกลางเมืองที่ยังคงอยู่ในอังกฤษกลับมาได้หลายชิ้น และได้ทรงซื้องานเขียนของจิตรกรรมชั้นครูสำคัญๆ เพิ่มเติมอีกหลายชิ้นด้วย
หลายสิบปีต่อมา สถานะการณ์ก็กลับหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อภาพเขียน 36 ภาพจากงานสะสมศิลปะหลวง รวมทั้งภาพหนึ่งจากชุดของขวัญดัตช์ที่ได้รับมาในปี ค.ศ. 1660 ถูกนำกลับไปเนเธอร์แลนด์โดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ไปเก็บไว้ยังพระราชวังเฮ็ทลู (Het Loo) ของพระองค์ ผู้ครองราชบัลลังก์อังกฤษต่อมาสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ทรงพยายามเรียกร้องให้เนเธอร์แลนด์คืนภาพเหล่านี้หลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมในปี ค.ศ. 1702 แต่ปราศจากความสำเร็จ งานสะสมจึงยังคงเป็นงานสะสมของสาธารณชนดัตช์ ภาพเขียน 14 ภาพที่ได้รับมาในปี ค.ศ. 1660 ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวง ส่วนภาพอื่นๆ ก็กระจัดกระจายไปเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมต่างๆ ทั่วโลก

ของขวัญ

ภาพเขียนอิตาลี 24 ภาพ และประติมากรรมอีก 12 ชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมงานสะสมศิลปะเรย์นสท์ ที่สะสมโดยพี่น้องยาน เรย์นสท์และเกอร์ริท เรย์นสท์ ผู้ที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เวนิสอยู่หลายปี งานหลายชิ้นมาจากงานสะสมของตระกูลเวนดรามิน (Vendramin) แต่ก็มีที่เป็นงานที่ซื้อมาต่างหาก[7] หลังจากเกอร์ริท เรย์นสท์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1658 แม่หม้ายก็ขายงานชั้นดีบางชิ้นให้กับรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1660 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 80,000 กิลเดอร์ดัตช์
ในปี ค.ศ. 1660 งานศิลปะกลุ่มนี้และงานประติมากรรมโรมันอีก 12 ชิ้นก็ได้รับการถวายให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พร้อมกับงานเขียนอีกสี่ชิ้นที่ไม่ใช่งานเขียนของจิตรกรอิตาลี ผู้จัดการเรื่องของขวัญคือกลุ่มผู้ว่าราชการสาธารณรัฐดัตช์ (Regenten) โดยเฉพาะคอร์เนลิส เดอ เกรฟฟ์ (Cornelis de Graeff) ผู้มีอิทธิพลและน้องชายอันดรีส เดอ เกรฟฟ์ (Andries de Graeff) งานประติมากรรมเลือกโดยประติมากรคนสำคัญของดัตช์สองคนอาร์ทัส เควลลินัส (Artus Quellinus) และ เกอร์ริท ฟาน อุยเลนเบอร์ห (Gerrit van Uylenburgh) ลูกชายของผู้แทนขายงานศิลปะของแรมบรังด์--เฮ็นดริค ฟาน อุยเลนเบอร์ห (Hendrick van Uylenburgh) ที่แนะนำรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์ในการทำการซื้อ แต่ต่อมาเกอร์ริทก็ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องหนีไปอังกฤษไปมีตำแหน่งเป็น "พนักงานดูแลรักษางานสะสมศิลปะหลวง" (Surveyor of the King's Pictures) ให้แก่ให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1676 จนกระทั่งเสียชีวิตสามปีต่อมา  ของขวัญนี้เป็นที่คัดค้านกันในบรรดาประชาชนชาวดัตช์ และเป็นข้อบาดหมางข้อหนึ่งระหว่างฝักฝ่ายการเมืองต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์

จิตรกรรมอิตาลี

จิตรกรรมอิตาลีสำคัญทั้ง 14 ชิ้น เดิมเป็นของงานสะสมศิลปะเรย์นสท์ และยังคงเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวง รวมทั้ง:

  • “ภาพเหมือนของจาโคโป ซานนาซาโร” โดย ทิเชียน, ราว ค.ศ. 1514-ค.ศ. 1518, และ “เวอร์จินแมรีและพระบุตรในภูมิทัศน์ กับโทไบอัสและเทวดา” (ร่วมกับห้องภาพ, ราว ค.ศ. 1535-ค.ศ. 1540)
  • “ภาพเหมือนของอันเดรีย โอโดนิ” (ค.ศ. 1527) และ “ภาพเหมือนของชายมีหนวด” (ราว ค.ศ. 1512-ค.ศ. 1515) โดย ลอเร็นโซ ล็อตโต
  • “การตัดสินของไมดาส” (Judgement of Midas) โดย อันเดรอา เชียโวเน (Andrea Schiavone) ราว ค.ศ. 1548-ค.ศ. 1550 และ “พระเยซูต่อหน้าไพเลท”
  • “ภาพเหมือนของมาเกอรีตา พาเลาโลกา” (Portrait of Margherita Palaeologa) โดย จูลีโอ โรมาโน ราว ค.ศ. 1531
  • “พาลลัส อธีเน” (Pallas Athene) โดย พามิจานิโน (Parmigianino), ราว ค.ศ. 1531-ค.ศ. 1538
  • “การแต่งงานของนักบุญแคทเธอริน” โดย เพาโล เวโรเนเซ, ราว ค.ศ. 1562-1569
  • “วงดนตรี” (The Concert) ระบุว่าเขียนโดยวิททอเร เบลลินิอาโน (Vittore Belliniano), ราว ค.ศ. 1505-ค.ศ. 1515 (ต่อมาระบุว่าเขียนโดยจอร์โจเน
  • “วีนัสนอน” (Reclining Venus) โดย จิโอวานนี คาริอานี (Giovanni Cariani), ซึ่งเป็นงานชิ้นเดียวที่สืบได้ว่ามาจากงานสะสมเวนดรามิน
งานสะสมศิลปะเรย์นสท์รวมทั้งภาพ “Genius of Painting” ที่เดิมระบุว่าเขียนโดยจุยโด เรนิ (Guido Reni) ชิ้นที่เก่ากว่ายังคงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวงที่อยู่ในรายการบันทึกสำรวจทรัพย์สินของปี ค.ศ. 1688 ของพระราชวังไวท์ฮอลล์ ที่ได้รับการระบุว่าเขียนโดยจุยโด เรนิ แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “เขียนแบบเรนิ” แต่ภาพนี้และงานต้นฉบับไม่ทราบแน่นอนว่าเป็นส่วนหนึ่งของของขวัญหรือไม่ แต่ภาพใดภาพหนึ่งในสองภาพเป็น
ภาพเขียนที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวงแล้วก็ได้แก่ภาพ “Semiramis Receiving Word of the Revolt of Babylon” (ค.ศ. 1624) โดย เกอร์ชิโน (Guercino) ที่ปัจจุบันเป็นของพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์, บอสตัน ภาพนี้เป็ภาพที่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์พระราชทานแก่เจ้าจอมบาร์บารา วิลเลียรส์ หรือแก่ ชาร์ลส์ ฟิทซ์รอย ดยุคแห่งคลีฟแลนด์ที่ 2 พระโอรสกับบาร์บารา, “พระเยซูแบกกางเขน” โดย จาโคโป บาซซาโนที่ปัจจุบันเป็นของหอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนที่ตกไปเป็นของสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน  หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์เสด็จสวรรคต
งานเขียนเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา นอกไปจากงานของบาซซาโนที่ที่อยู่ในรายการบันทึกสำรวจทรัพย์สินของปี ค.ศ. 1688/1689 ของที่ประทับในสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน ภาพหนึ่ง “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” เชื่อกันว่าเป็นภาพที่เขียนโดยราฟาเอล และภาพหมู่ “พระมหาไถ่พระบาทบนเบาะ กับพระแม่มารี นักบุญจอห์น และนักบุญเอลิซาเบธ” แต่อาจจะเป็นภาพที่ทรงนำติดพระองค์กลับไปโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1692 ก็เป็นได้

งานอื่นๆ

งานสี่ชิ้น ที่มิได้เขียนโดยจิตรกรอิตาลี สองชิ้นเป็นงานเขียนโดยเกอร์ริท  “แม่สาว” (The Young Mother) (ค.ศ. 1658) เพิ่งเขียนได้เพียงสองปีก่อนหน้านั้น ผู้ว่าราชการของเมืองไลเดนอาจจะเลือกภาพนี้เพื่อเสริมชื่อเรือยอชต์หลวง “แมรี” เพื่อเป็นนัยให้สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงลืมที่จะดูแลผลประโยชน์ของราชวงศ์ออเรนจ์ในเนเธอร์แลนด์ ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองในปี ค.ศ. 1650 เมื่อมีการฟื้นฟูราชวงศ์ เจ้าฟ้าหญิงแมรีพระปิตุจฉาของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ทรงอยู่ในภาวะคับขันทางการเมือง เมื่อทรงเป็นผู้ดูแลพระโอรสเจ้าชายวิลเลียมที่ 3 แห่งออเรนจ์  ภาพนี้ก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ทรงนำกลับไปเนเธอร์แลนด์ ที่ปัจจุบันอยู่ที่Mauritshuisในกรุงเฮก
ภาพที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก “เยาะเซเรส” (The Mocking of Ceres, ราว ค.ศ. 1605) โดยจิตรกรเยอรมันอาดัม เอลสไฮเมอร์ที่เดิมเชื่อกันว่าเป็นงานก๊อปปี แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นงานต้นฉบับ ที่ปรากฏขึ้นในวงการตลาดศิลปะในคริสต์ทศวรรษ 1970 ปัจจุบันเป็นงานสะสมส่วนบุคคลที่มิลวอกี งานเขียนทราบว่ามีได้จากหลักฐานของภาพก๊อปปีที่ปราโด และงานแกะพิมพ์ และภาพนี้ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมศิลปะหลวงในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2  ความเสียหายของภาพเกิดขึ้นจากเพลิงไหม้ ที่อาจจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1698 เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นในพระราชวังไวท์ฮอลล์ และงานศิลปะเป็นจำนวนพอสมควรของงานสะสมศิลปะหลวงของพระราชวงศ์อังกฤษสูญเสียไปกับเพลิงไหม้ ที่อาจจะรวมทั้งงานประติมากรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของของขวัญดัตช์ของปี ค.ศ. 1660 ซึ่งยังคงอยู่เหลืออยู่เพียงชิ้นหนึ่งในอังกฤษ
งานอีกสี่ชิ้น ที่มิได้เขียนโดยจิตรกรอิตาลีเป็นงานเขียนของเปียเตอร์ ยานสซ์ แซนเรอดัม (Pieter Jansz Saenredam) ที่เพิ่งเขียนในปี ค.ศ. 1648) ที่เป็นภาพขนาดใหญ่กว่าปกติของ “Groote Kerk” ในฮาร์เล็ม ที่อาจจะเป็นภาพที่เป็นนัยยะที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ทรงรำลึกถึงบรรยากาศของเนเธอร์แลนด์ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมอาจจะพระราชทานให้แก่วิลเลียม ฟาน ฮุลส์พนักงานพระภูษามาลาคนหนึ่งของพระองค์ เพราะอยู่ในบรรดาภาพที่ฟาน ฮุลส์ขาย ปัจจุบันภาพนี้เป็นของหอศิลป์แห่งชาติแห่งสกอตแลนด์

ระเบียงภาพ

No comments:

Post a Comment