ของโบราณ,ของสะสม,ของเก่าโบราณ,ของเก่ามีราคา,ตลาดค้าของเก่า.ของเก่าวันนี้,antiquetoday

ของโบราณทรงคุณค่าของไทย

Tuesday, January 2, 2018

Baan Kwai Buffalo Village :Thailand :หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย)


   
                           
Baan Kwai Buffalo Village :Thailand :หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) วันและเวลาที่ชีวิตในชนบทได้เปลี่ยนแปลไป ที่อยู่อาศัย การทำเกษตรกรรม มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น เพื่อรองรับกับความสะดวกสบาย จนรูปแบบเก่าๆ หาดูได้ยากลงทุกที และบางสิ่งอาจไม่มีใครเคยได้เห็น และบางสิ่งอาจสูญหายไปจากชีวิต
บ้านควาย...คือสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว และรูปแบบวิถีชีวิตของคนในชนบท รูปแบบที่กำลังจะเลือนหายไป เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ไม่ควรพลาด หากมีโอกาสได้เดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ เป็นจังหวัดที่มีอาชีพหลักคือการเกษตรกรรม และ "ควาย" ก็เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อการใข้งาน ที่มีวิถีชีวิตเคียงคู่กับคนสุพรรณโดยตลอดมา
ควายกับคน ผูกพันกันมาแต่โบราณ โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนไทยในอดีต เราได้ใช้แรงงานควายเพื่อการเกษตร จนสามารถพูดได้ว่า.... ควายคือชีวิตของคนไทย คนไทยในอดีต ยกย่อง ควาย ว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ โดยจะทำขวัญควายเมื่อสิ้นฤดูไถหว่านเพื่อแสดงความกตัญญูต่อควาย สมัยก่อนเราจะไม่ฆ่าควายเพื่อกินเนื้อ แต่จะเลี้ยงดูอยู่ด้วยกันจนกว่าจะแก่เฒ่า และตายตามอายุขัย
  ปัจจุบันหลายอย่างเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่ ทำให้คนมองคุณค่าของควาย ที่สำคัญและยิ่งใหญ่มาตั้งแต่อดีตกาลนั้น ได้สูญหายลงไปอย่างน่าเสียดาย
 Baan Kwai Buffalo Village :Thailand :หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นส่วนหนึ่งของภาคกลางที่มีการทำนาอุดมสมบูรณ์มาช้านาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 115 กิโลเมตร ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 -3,800 ปี มีการขุดพบโบราณวัตถุยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธ์ ยุคเหล็ก สืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ หรือเดิมเรียกกันว่า “เมืองทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ” จังหวัดสุพรรณมีสถานที่น่าสนใจมากมาย อาทิโบราณสถาน อารามหลวง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยและสถานที่เกษตรกรรม กับการสาธิตการทำนาที่ชาวบ้านดำรงชีพมาแต่ก่อน
Baan Kwai Buffalo Village :Thailand :หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) เป็นสถานที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้จัดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นภาพชีวิตชาวนาชนบทไทย่ดั้งเดิม ภาพการทำนาที่ไม่ใช้เครื่องจักรทันสมัย พร้อมสัมผัสงานฝีมือและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่สะท้อนให้เห็นได้จากกลุ่มหมู่บ้านชาวนาไทยและแบบเรียบง่าย อาทิเช่น บ้านเรือนไม้แบบเรือนปลายนาเป็นที่อยู่อาศัยของคนที่มีฐานะค่อนข้างยากจน มีการก่อสร้างแบบเรียบง่าย เรือนศรีประจันต์เป็นบ้านที่สร้างจากไม้แท้หลังค่ามุงจากและกระเบื้องซึ่งเป็นหลังที่สี่และมีขนาดที่ใหญ่โตกว่าซึ่งถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่ขยายใหญ่สุดและมีฐานะค่อนข้างร่ำรวยหน่อย และมีอุปกรณ์ต่างที่เก็บไว้ยิ่งน่าศึกษามากยิ่งขึ้น
“คนกับควาย ทุ่งนากับควาย” เป็นสิ่งที่จะขาดไม้ได้ในแถบนี้ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยได้รวบรวมสิ่งเหล่านี้ไว้สำหรับการศึกษาด้านการเกษตรกรรมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อนักเรียน นักศึกษาจะได้ศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ ของการทำนา การทำเกษตรกรรมแบบชาวนาชนบทอย่างเรียบง่าย ๆ โดยร่วมการใช้ควายในการทำนา 
รอบการแสดง - และเวลาเปิดทำการ
การเปิดทำการ เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด
เวลาเปิด เวลา 09.00 – 18.00 น. 
รอบการแสดง วันธรรมดา มี 2 รอบ (วันจันทร์ – วันศุกร์) เวลา 11.00 – 11.30 น.
และเวลา 15.00 – 15.30 น.
รอบการแสดง วันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ มี 3 รอบเช้า เวลา 11.00 – 11.45 น.,
รอบบ่ายเวลา 14.30 – 15.15 น. และ 16.00 – 16.45 น.
รายละเอียดเกี่ยวกับการแสดง 
สำหรับวันธรรมดาจะมีการแสดงจะมีเฉพาะการแสดงความสามารถของควายแสนรู้อย่างเดียวคือ เริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกี่ยวกับเรื่องของควายก่อน เช่น ประวัติความเป็นมา สายพันธุ์ ตั้งท้องกี่เดือน ตกลูกกี่ตัว/กี่ปี การนำมาใช้งาน วิธีการนำมาใช้งาน การใช้งานในด้านต่าง ๆ คืออะไรบ้างเป็นต้น ต่อจากนั้นเริ่มการแสดงอย่างเต็มที่ คือ เริ่มตั้งแต่การสวัสดีผู้ชม, ควายนอนพักผ่อน,ควายนอนตาย, ควายยิ้ม, วิธีการขึ้นควาย 3 วิธี, การทำท่าสะพานควายนับพันปี, การรอดใต้ท้องควาย, ควายเดินข้ามคน, ควายขึ้นที่สูง, รวมไปถึงให้ลูกค้าทดลองนั่งควาย, สุดท้ายคือให้ลูกค้าทดลองนั่งควายเทียมเกวียนชมรอบแปลงนาสาธิต
สำหรับวันหยุดจะเพิ่มการแสดงขึ้นมาอีก 1 อย่าง คือ เพลงอีแซวพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งจะเป็นน้อง ๆ จากโรงเรียนรอบ ๆ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย การร้องเพลงอีแซวเนื้อหาโดยคล่าว ๆ จะพูดถึงเกี่ยวกับสถานที่ บุคคล และบรรยากาศโดยทั่ว ๆ ไปของสถานที่นั้น ๆ และต่อด้วยการแสดงของควาย 
Address: หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย, ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี, 72140

No comments:

Post a Comment