อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ | |
---|---|
มุมมองจากเขื่อน
| |
ที่ตั้ง | จ.กาญจนบุรี ประเทศไทย |
พื้นที่ | 343,750 ไร่ (550 ตร.กม.) |
จัดตั้ง | 19 มิถุนายน 2518 |
ผู้เยี่ยมชม | 399,265[2] (2549) |
หน่วยราชการ | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
ข้อมูลทั่วไป
สมัย พณฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ให้กระทรวงเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งป่าเทือกเขาสลอบท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2504-2515 โดยใช้บริเวณน้ำตกเอราวัณเป็นศูนย์กลางการสำรวจ พบว่า บริเวณป่าเทือกเขาสลอบ จังหวัดกาญจนบุรี มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนด เขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอวังขนาย อำเภอบ้านทวน และอำเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี
โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รักษาการณ์ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กรมป่าไม้จึงมีรายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งให้กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ขอเพิกถอนพื้นที่เขตหวงห้ามที่ดินบางส่วนที่เป็นป่าเทือกเขาสลอบ เพื่อเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติได้
โดยมีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนที่ดินหวงห้ามดังกล่าวลงประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที 19 มิถุนายน 2518 และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาสลอบ ในท้องที่ตำบลไทรโยค ตำบลท่าเสา ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2518 และให้ใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติเอราวัณ" ตามความนิยมและคุ้นเคยของประชาชนที่รู้จักน้ำตกเอราวัณเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อที่ประมาณ 549.9 ตารางกิโลเมตร หรือ 343,735 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 12 ของประเทศไทยลำดับที่ 12 ของประเทศ
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ มีร้อยละ 81.05 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ขึ้นปกคลุมตั้งแต่ระดับความสูง 100 - 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง ตะเคียนหนู รกฟ้า ผ่าเสี้ยน ประดู่ ส้มเสี้ยว แต้ว มะกอก ตะแบก ขานาง มะเกลือ หว้าฯลฯ มีไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปหรือบางแห่งขึ้นเป็นกลุ่ม ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล และไผ่หอบ นอกจากนี้ยังมีพวกไม้เลื้อยและพืชพื้นล่าง ได้แก่ เสี้ยวเครือ นมแมว เล็บเหยี่ยว หนามคนทา ช้องแมว มะเม่าไข่ปลา ย่านลิเภา เปล้าหลวง กระทือ สังกรณี และเอื้องหมายนา เป็นต้น
ป่าเต็งรัง มีร้อยละ 1.68 กระจายอยู่ในระดับความสูง 100 - 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทุ่งยายหอม หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อว.8 (ลำต้น) และบริเวณใกล้เขื่อนทุ่งนา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง แดง ก่อแพะ มะขามป้อม อ้อยช้าง ยอป่า กรวยป่า โมกหลวง ก้างขี้มอด ส้าน เหมือดคนฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หญ้าขน หญ้าหางเสือ เล็บแมว เถาว์กระทงลาย เป้ง ลูกใต้ใบ ผักหวาน ผักเป็ด พลับพลา และปอ เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง มีร้อยละ 14.35 อยู่บนสันเขาทอดเป็นแนวยาวตรงใจกลางของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และอยู่ต่ำถัดลงมาในระดับความสูงระหว่าง 600-800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และอยู่ในบริเวณที่ชุ่มชื้นตามที่ราบริมห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางโอน มะพลับดง ยมหิน ตะเคียนทอง สำโรง ตะคร้ำสัตบรรณ เฉียงพร้านางแอ มะดูก พลองใบเล็ก ข่อยหนาม ชมพู่น้ำ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม เถากระไดลิง เข็มขาว มะลิไส้ไก่ ว่านเศรษฐี ตำแยกวางเถาอบเชย ไผ่หนาม และเนียมฤๅษี
จากการสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแบ่งออก เป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก และสัตว์น้ำอื่นๆ รวมทั้งปลานานาชนิด ที่สำคัญและมักจะพบเห็น ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย เลียงผา อีเก้ง กวางป่า หมูป่า ชะนีธรรมดาค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงกัง ลิงลม แมวดาว อีเห็นธรรมดา กระแต เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ป่า นกกวัก นกเด้าดิน นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกหัวขวานด่างแคระ นกปรอดสวน นกจาบดินอกลาย งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูหลาม งูเห่าตะลาน กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนบ้าน ตะพาบน้ำ คางคกบ้าน เขียดจะนา อึ่งกราย กบป่าไผ่ใหญ่ ปาดบิน ปลากั้ง ปลาเวียน ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาตะเพียนขาว ปลากระสูบจุด ปูน้ำตก ปูตะนาวศรี ปูกาญจนบุรีเป็นต้น
วิกิพีเดีย
https://goal90antique.blogspot.com
No comments:
Post a Comment