ของโบราณ,ของสะสม,ของเก่าโบราณ,ของเก่ามีราคา,ตลาดค้าของเก่า.ของเก่าวันนี้,antiquetoday

ของโบราณทรงคุณค่าของไทย

Sunday, February 11, 2018

Mangrove Nature Research Center Kung Krabaen Beach:Chanthaburi Thailand:ป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี

ป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี: Mangrove Nature Research Center Kung Krabaen Beach:Chanthaburi Thailand

สังคมของพรรณไม้กระจายตามลักษณะภูมิประเทศจากริมอ่าวจนถึงรอยต่อของพื้นที่ป่าบก โดยแยกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

 พื้นที่ริมอ่าวด้านทิศใต้ ลักษณะเป็นดินทรายและเปลือกหอยปะปนอยู่มาก มีไม้แสมขาว แสมทะเล ลำพูทะเล เป็นไม้เด่น

 ทางด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นดินเลนค่อนข้างลึก มีไม้โกงกางใบเล็กอันเป็นพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ของป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน ขึ้นครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมด

 พื้นที่สันทรายริมชายฝั่ง มีพรรณไม้ที่สามารถขึ้นอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างสูง มีน้ำทะเลท่วมถึงไม่บ่อยนัก ได้แก่ ตาตุ่มทะเล โปรงแดง

 พื้นที่ดอน พบพรรณไม้ เช่น ฝาดดอกแดง ฝาดดอกขาว ขึ้นอยู่หนาแน่น พรรณไม้พื้นล่างมีปรงทะเลและเหงือกปลาหมอ 

พื้นที่รอยต่อป่าบก เป็นพื้นที่สูง น้ำทะเลท่วมน้อยครั้ง พรรณไม้มีลักษณะคล้ายป่าพรุ ได้แก่ เตยทะเล เม็ดแดง และรักทะเล ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างพบปรงชนิดต่างๆ เหงือกปลาหมอ ฯลฯ
ป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี: Mangrove Nature Research Center Kung Krabaen Beach:Chanthaburi Thailand: จากการสำรวจ
พบพรรณไม้ป่าชายเลนที่สำคัญๆ ในอ่าวคุ้งกระเบนจำนวน 25 ชนิด นก 24 ชนิด ปลา 25 ชนิด กุ้ง 4 ชนิด ปู 9 ชนิด และหอย 11 ชนิด

สมัยก่อนบริเวณอ่าวบ้านหัวแหลมยังเคยเป็นแหล่งอาศัยของพะยูน แต่เมื่อชายฝั่งทะเลถูกบุกรุกทำลาย หญ้าทะเลจึงเริ่มหมดไปจากพื้นที่ เหลือเพียงรายงานการพบพะยูนครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2533
ทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน
สะพานเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยงานป่าไม้ เป็นผู้สำรวจและออกแบบก่อสร้าง

 ตัวสะพานทางเดินสร้างด้วยไม้ตะเคียนทอง (Hopea odorata) มีความยาวทั้งสิ้น 1,433 เมตร และยังมีส่วนที่เป็นทางเดินปูด้วยแผ่นหินทรายยาว 363 เมตร รวมเป็นระยะทางเดินศึกษาธรรมชาติทั้งสิ้น 1,793 เมตร

 จุดเริ่มต้นซุ้มประตูศาลาทางเข้าอยู่บริเวณ ด้านทิศใต้ของอ่าวคุ้งกระเบน ห่างจากสำนักงานอาคารศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ฝั่งตรงข้าม ถนนเพียง 200 เมตร

เส้นทางเดินของสะพาน จะผ่านบริเวณสังคมพืชไม้เบิกนำจำพวกไม้แสม ไม้ลำพู แปลงเพาะชำกล้าไม้ แปลงปลูกป่าไม้โกงกาง แปลงศึกษาวิจัย ข้ามสะพานแขวนไปสู่ป่าธรรมชาติ ที่มีไม้โกงกางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นสมบูรณ์

 จากนั้นสะพานจะวกกลับผ่าน แปลงทดลองการปลูกป่าชายเลนผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ผ่านบ่อทดลองการเลี้ยงกุ้งทะเล ที่มีการรักษาสภาพแวดล้อมโดยระบบชลประทานน้ำเค็ม และไปสิ้นสุดที่ศาลาเชิงทรงซึ่งอธิบายลักษณะของพื้นที่และพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ระหว่างรอยต่อป่าชายเลนและป่าบก
บริเวณสะพานทางเดินได้จัดสร้างศาลาสื่อความหมายธรรมชาติ (Nature Interpretation) และระเบียงหยุดพักชมธรรมชาติเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้มาเยือนได้ศึกษาหาความรู้เรื่องราวของป่าชายเลนบนบอร์ดนิทรรศการ พร้อมกับดูตัวอย่างจากของจริงบริเวณรอบ ๆ ศาลา
สถานที่ตั้ง: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ตำบล คลองขุด อำเภอ ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22120

No comments:

Post a Comment