อกาธา (มิลเลอร์) คริสตี ราชินีนวนิยายอาชญากรรม " Queen Novels Of Crime "(Agatha Christie, ชื่อเต็ม: Agatha Mary Clarissa, บรรดาศักดิ์ Lady Mallowan, 15 กันยายน 2433 - 12 มกราคม 2519, อายุ 86 ปี )
เกิดที่เมืองทอร์คีย์ มณฑลเดวอน ครอบครัวมีฐานะปานกลางมีบิดาเป็นชาวอเมริกัน มารดาเป็นชาวอังกฤษเป็นลูกคนเล็กของครอบครัว โดยคริสตีเลือกถือสัญชาติอังกฤษ เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเขียนนิยายแนวสืบสวนสอบสวน ได้รับสมญานามว่า "ราชินีแห่งนวนิยายอาชญากรรม"
และเป็นผู้ที่ได้รับการบันทึกจากกินเนสต์บุ๊คว่า เป็นนักเขียนที่มียอดขายหนังสือมากที่สุดในโลก ตัวละครนักสืบที่โด่งดังของเธอ อาทิเช่น แอร์กูล ปัวโร, เจน มาร์เปิ้ล นอกจากนี้ องค์การยูเนสโก ยังได้ระบุว่า คริสตี เป็นนักเขียนที่มีผลงานแปลมากที่สุดในโลก เป็นรองแต่เพียงงานของวอลต์ ดิสนี่ย์ โปรดักชั่น เท่านั้น คริสตียังมีผลงานนวนิยายโรแมนติกในนามปากกาว่า Mary Westmacott
และเป็นผู้ที่ได้รับการบันทึกจากกินเนสต์บุ๊คว่า เป็นนักเขียนที่มียอดขายหนังสือมากที่สุดในโลก ตัวละครนักสืบที่โด่งดังของเธอ อาทิเช่น แอร์กูล ปัวโร, เจน มาร์เปิ้ล นอกจากนี้ องค์การยูเนสโก ยังได้ระบุว่า คริสตี เป็นนักเขียนที่มีผลงานแปลมากที่สุดในโลก เป็นรองแต่เพียงงานของวอลต์ ดิสนี่ย์ โปรดักชั่น เท่านั้น คริสตียังมีผลงานนวนิยายโรแมนติกในนามปากกาว่า Mary Westmacott
บทละครเวทีของเธอเรื่อง The Mousetrap เป็นการแสดงที่ได้บันทึกสถิติว่าออกแสดงนานที่สุดในโลก โดยเปิดการแสดงที่โรงละครแอมบาสซาเดอร์ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1952 และยังคงมีการแสดงอยู่จนถึงปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2008) รวมการแสดงไปแล้วกว่า 20,000 รอบ ปี ค.ศ. 1955 คริสตีได้รับรางวัลเกียรติยศสูงสุดของสมาคมนักเขียนเรื่องลึกลับแห่งสหรัฐอเมริกา (Mystery Writers of America) เป็นคนแรก คือรางวัล Grand Master Award ผลงานของเธอได้ดัดแปลงไปเป็นภาพยนตร์จำนวนมาก รวมถึงรายการโทรทัศน์ วิทยุ วิดีโอเกม และการ์ตูนด้วย
ปี ค.ศ. 1998 บริษัท ชอเรียน (Chorion) ได้ซื้อหุ้นจำนวนกว่า 64% ของ Agatha Christie Limited และได้เข้าควบคุมการถือลิขสิทธิ์ผลงานทั้งหมดของอกาธา คริสตี
ฉบับภาษาไทยมี สำนักพิมพ์ที่ได้ลิขสิทธิ์ในการแปลได้แก่ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ สำนักพิมพ์ทีเอสจี และ แพรวสำนักพิมพ์ (พิมพ์สำนวนใหม่ออกมาวางขาย 7 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2558 เนื่องในวาระ 125 ปีชาตกาลของอกาธา คริสตี)
ผลงาน
ผลงาน
นวนิยาย
นวนิยายของอกาธา คริสตีได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครบทุกเล่ม ซึ่งมีหลากหลายสำนวนและหลายชื่อเรื่อง ดังนั้นจะยึดการใช้ชื่อภาษาอังกฤษและเรียงลำดับตามปีที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นหลัก
ลำดับที่ | ปีที่ตีพิมพ์ครั้งแรก | ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ | ชื่อเรื่องภาษาไทย |
---|---|---|---|
1 | 1920 | The Mysterious Affair at Styles | ความลี้ลับเหนือเคหาสน์สไตลล์ คดีแรกของปัวโรต์ |
2 | 1922 | The Secret Adversary | ศัตรูลับ แผนพิฆาต |
3 | 1923 | The Murder on the Links | สนามกอล์ฟมรณะ เกมสังหาร ฆาตกรรมบนสนามกอล์ฟ |
4 | 1924 | The Man in the Brown Suit | ชายในชุดสีน้ำตาล เพชรมรณะ |
5 | 1925 | The Secret of Chimneys | คฤหาสน์มฤตยู |
6 | 1926 | The Murder of Roger Ackroyd | คดีฆาตกรรมโรเจอร์ แอกครอยด์ กริชสังหาร ฆาตกรรมโรเจอร์ แอคครอยด์ ใครฆ่าโรเจอร์ แอ็กครอยด์ ฆาตกรรม รอเจอร์ แอคครอยด์ |
7 | 1927 | The Big Four | สี่อาชญากร |
8 | 1928 | The Mystery of the Blue Train | ปริศนาม้าเหล็กสีน้ำเงิน ทับทิมสีเลือด สื่อสังหาร |
9 | 1929 | The Seven Dials Mystery | แผนฆาตกรรม เล่ห์สังหาร |
10 | 1930 | The Murder at the Vicarage | คดีแรกของมาร์เปิล ใครฆ่าพันเอก นัดพบกับความตาย ฆาตกรรมสยองขวัญ |
11 | 1931 | The Sittaford Mystery | ซ้อนกลฆาตกรรม เข้าทรงมรณะ |
12 | 1932 | Peril at End House | ลูบหนวดปัวโรต์ |
13 | 1933 | Lord Edgware Dies | ฆ่าลอร์ดเอ็ดจ์แวร์ |
14 | 1934 | Murder on the Orient Express | รถด่วนอันตราย |
15 | 1934 | Why Didn't They Ask Evans หรือในอีกชื่อนึงว่า The Boomerang Clue | พยาบาท..ฆาตกรรม ฆาตกรย้อนรอย |
16 | 1935 | Three Act Tragedy | ฆาตกรจำแลง โศกนาฏกรรม 3 ฉาก |
17 | 1935 | Death in the Clouds | เที่ยวบินมรณะ |
18 | 1936 | The A.B.C. Murders | ฆาตกรรมวิปริต |
19 | 1936 | Murder in Mesopotamia | ฆาตกรรมในอาหรับ |
20 | 1936 | Cards on the Table | ฆาตกรรมในวงบริดจ์ |
21 | 1937 | Dumb Witness | พยานใบ้ |
22 | 1937 | Death on the Nile | แม่น้ำสีเลือด ฆาตกรรมบนแม่น้ำไนล์ |
23 | 1938 | Appointment with Death | นัดมรณะ ปลายทางที่นรก สุดทางที่นรก |
24 | 1938 | Hercule Poirot's Christmas | คริสต์มาสฆาตกรรม |
25 | 1939 | Murder is Easy | อุบัติเหตุ? พยาบาทฆาตกรรม ฆ่ากันนั้นมันหมู |
26 | 1939 | And Then There Were None Ten Little Indians Ten Little Niggers | ตายยกเกาะ ตุ๊กตาอาถรรพณ์ ฆาตกรรมยกเกาะ |
27 | 1940 | Sad Cypress | พินัยกรรมเลือด โลงสนเศร้า |
28 | 1940 | One, Two, Buckle My Shoe | ศพปริศนา หนึ่ง สอง เข็มขัด รองเท้า เจ้าปัญหา |
29 | 1941 | Evil Under the Sun | เกาะมฤตยู ฆาตกรรมริมหาด ตะวันสีเลือด |
30 | 1941 | N or M | ฉีกหน้ากาก "เอ็น กับ เอ็ม" |
31 | 1942 | The Body in the Library | ศพในห้องสมุด มรณะในห้องสมุด |
32 | 1942 | Five Little Pigs หรือในอีกชื่อนึงว่า Murder in Retrospect | ใครฆ่ากันแน่ พิศวาสฆาตกรรม |
33 | 1942 | The Moving Finger | สื่อมรณะ ดัชนีสังหาร |
34 | 1942 | Mousetrap | กับดัก |
35 | 1944 | Towards Zero | แผนสังหาร |
36 | 1944 | Death Comes as the End | ฆาตกรรมยุคฟาโรห์ ย้อนกาลฆาตกรรม |
37 | 1945 | Sparkling Cyanide | แชมเปญมรณะ ยาพิษในแก้วผลึก |
38 | 1946 | The Hollow | เสน่หาอาฆาต พิษรักมรณะ |
39 | 1948 | Taken at the Flood | กลลวง น้ำขึ้นให้รีบตัก |
40 | 1949 | Crooked House | แม่หนูนักสืบ คดีบ้านพิกล คนวิปริต |
41 | 1950 | A Murder is Announced | กำหนดวันตาย |
42 | 1951 | They Came to Baghdad | แบกแดด แดนมหันตภัย |
43 | 1952 | Mrs McGinty's Dead | มรณะปริศนา |
44 | 1952 | They Do It with Mirrors | เล่ห์มัจจุราช ฆาตกรรมลวงตา |
45 | 1953 | After the Funeral or The Funerals are Fatal | ฆาตกรรมอำพราง |
46 | 1953 | A Pocket Full of Rye | ปริศนาข้าวไรย์ |
47 | 1954 | Destination Unknown | จารกรรมจำแลง |
48 | 1955 | Hickory Dickory Dock | โจรกรรมวิตถาร ...จะเป็นพลเมืองดีหรือพ่อที่ดี? |
49 | 1956 | Dead Man's Folly | เกมมรณะ ฆ่าปิดปาก |
50 | 1957 | 4.50 from Paddington | 4.50 รถไฟสายมรณะ รถไฟขบวนนี้มีฆาตกรรม |
51 | 1958 | Ordeal by Innocence | อุทธรณ์จากหลุมศพ |
52 | 1959 | Cat Among the Pigeons | เครื่องเพชรมหาภัย อัญมณีอาถรรพณ์ |
53 | 1961 | The Pale Horse | ม้ามัจจุราช |
54 | 1962 | The Mirror Crack'd from Side to Side | ลางสังหาร |
55 | 1963 | The Clocks | นาฬิกามฤตยู |
56 | 1964 | A Caribbean Mystery | โหดวิปริต |
57 | 1965 | At Bertram's Hotel | โรงแรมอาถรรพณ์ เหตุเกิดที่เบอร์แทรม |
58 | 1966 | Third Girl | สาวชาวแฟลต |
59 | 1967 | Endless Night | คืนหฤโหด |
60 | 1968 | By the Pricking of My Thumbs | สัญญาณมรณะ |
61 | 1969 | Hallowe'en Party | ฮาลโลวีน วันฆาตกรรม |
62 | 1970 | Passenger to Frankfurt | แฟรงก์เฟิร์ต แผนล้างโลก |
63 | 1971 | Nemesis | รหัสลับเนเมอซิส เนเมซิส ปริศนาแห่งการลงทัณฑ์ ฆ่าเพราะรัก |
64 | 1972 | Elephants Can Remember | ใครฆ่าใครก่อน เงาบาป |
65 | 1973 | Postern of Fate (นิยายเล่มสุดท้ายที่ อกาธา เขียน) | ประตูมรณะ |
66 | 1975 | Curtain (เขียนในช่วงปี ค.ศ.1940- 1941 ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1975 ) | คดีสุดท้ายของปัวโรท์ บทสุดท้ายของปัวโรต์ ฆาตกรรมสั่งลา |
67 | 1976 | Sleeping Murder (เขียนในปี ค.ศ.1940 ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1976) | ย้อนรอยฆาตกรรม นิทราอาถรรพณ์ |
No comments:
Post a Comment