GALLERY ANTIQUES

Wednesday, November 1, 2017

ภาษาไทย

ภาษาไทย


ภาษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ

ชื่อภาษาและที่มา

คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการสร้างคำที่เรียก "การลากคำเข้าวัด" ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว ย เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลี - สันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

ประวัติศาสตร์

พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจากบาลี-สันสกฤต และ เขมร

สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ดูบทความหลักที่: ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
  • ตัดพยัญชนะ ฃ ฅ ฆ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ แล้วใช้ ข ค ค ด ต ถ ท ธ น ส ส ล ตามลำดับแทน
  • พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น ญ
  • พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
  • เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก ก็เปลี่ยนเป็น หยาก
  • เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง ก็เขียนเป็น จิง, ทรง ก็เขียนเป็น ซง
  • ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
  • เลิกใช้สระใอไม้ม้วน เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด
  • เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
  • ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่นมหัพภาคเมื่อจบประโยค จุลภาคเมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาคเชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น
หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง

สัทวิทยา

ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท คือ
  1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
  2. หน่วยเสียงสระ
  3. หน่วยเสียงวรรณยุกต์

พยัญชนะ

พยัญชนะต้น

ภาษาไทย แบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียงแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
  • สียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
  • เสียงไม่ก้อง พ่นลม
  • เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง S ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปากทั้งสองปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก[m]
m
[n]
ณ,น n
[ŋ]
ng
เสียงกักก้อง[b]
b
[d]
ฎ,ด d
ไม่ก้อง ไม่มีลม[p]
p
[t]
ฏ,ต t
[tɕ]
ch
[k]
k
[ʔ]
ไม่ก้อง มีลม[pʰ]
ผ,พ,ภ ph
[tʰ]
ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ th
[tɕʰ]
ฉ,ช,ฌ ch
[kʰ]
ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ*kh
เสียงเสียดแทรก[f]
ฝ,ฟ f
[s]
ซ,ศ,ษ,ส s
[h]
ห,ฮ h
เสียงเปิด[l]
ล,ฬ l
[j]
ญ,ย y
[w]
w
เสียงรัวลิ้น[r]
r
* ฃ และ ฅ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร

พยัญชนะสะกด

ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก ฃ และ ฅ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36 ตัวตามตารางอักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก[m]
m
[n]
ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ n
[ŋ]
ng
เสียงกัก[p̚]
บ, ป, พ, ฟ, ภ p
[t̚]
จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, ส t
[k̚]
ก, ข, ค, ฆ k
[ʔ]
* -
เสียงเปิด[w]
o (w)
[j]
i (y)
* เสียงพยัญชนะกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

กลุ่มพยัญชนะ

แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย
ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานอ่อน
พยัญชนะเดี่ยว/p/
ป p
/pʰ/
ผ, พ ph
/t/
ต t
/k/
ก k
/kʰ/
ข, ฃ, ค, ฅ kh
เสียงรัว/r/
/pr/
ปร pr
/pʰr/
พร phr
/tr/
ตร tr
/kr/
กร kr
/kʰr/
ขร, ฃร, คร khr
เสียงเปิด/l/
/pl/
ปล pl
/pʰl/
ผล, พล phl
/kl/
กล kl
/kʰl/
ขล, คล khl
/w/
/kw/
กว kw/qu
/kʰw/
ขว, ฃว, คว, ฅว khw
พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากคำยืมภาษาต่างประเทศ อาทิ จันทรา จากภาษาสันสกฤต มีเสียง ทร /tʰr/, ฟรี จากภาษาอังกฤษ มีเสียง ฟร /fr/ เป็นต้น เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก

สระ


สระเดี่ยว หรือ สระแท้
คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถานเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)
ลิ้นส่วนหน้าลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียดปากเหยียดปากห่อ
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
ลิ้นยกสูง/i/
–ิ i
/iː/
–ี i
/ɯ/
–ึ ue
/ɯː/
–ื ue
/u/
–ุ u
/uː/
–ู u
ลิ้นกึ่งสูง/e/
เ–ะ e
/eː/
เ– e
/ɤ/
เ–อะ oe
/ɤː/
เ–อ oe
/o/
โ–ะ o
/oː/
โ– o
ลิ้นกึ่งต่ำ/ɛ/
แ–ะ ae
/ɛː/
แ– ae
/ɔ/
เ–าะ o
/ɔː/
–อ o
ลิ้นลดต่ำ/a/
–ะ a
/aː/
–า a
สระเดี่ยว
สระเดี่ยว
สระประสม
สระประสม
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
  • เ–ีย /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา ia
  • เ–ือ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา uea
  • –ัว /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
สระเสียงสั้นสระเสียงยาวสระเกิน
ไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกด
–ะ–ั–1, -รร, -รร-–า–า––ำ(ไม่มี)
–ิ–ิ––ี–ี–ใ–(ไม่มี)
–ึ–ึ––ือ–ื–ไ–(ไม่มี)
–ุ–ุ––ู–ู–เ–า(ไม่มี)
เ–ะเ–็–, เ––2เ–เ––ฤ, –ฤฤ–, –ฤ–
แ–ะแ–็–, แ––2แ–แ––ฤๅ, –ฤๅ(ไม่มี)
โ–ะ––โ–โ––ฦ, –ฦฦ–, –ฦ–
เ–าะ–็อ–, -อ-2–อ–อ–, ––3ฦๅ, –ฦๅ(ไม่มี)
–ัวะ–็ว––ัว–ว–
เ–ียะ(ไม่มี)เ–ียเ–ีย–
เ–ือะ(ไม่มี)เ–ือเ–ือ–
เ–อะเ–ิ–4,
เ––4
เ–อเ–ิ–,
เ––5,
เ–อ–6
สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
  • –ำ /am, aːm/ am ประสมจาก อะ + ม (อัม) เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) เช่น น้ำ
  • ใ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ใจ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ใต้
  • ไ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ไหม้ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ไม้
  • เ–า /aw, aːw/ ao ประสมจาก อะ + ว (เอา) เช่น เกา บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) เช่น เก้า
  • /rɯ/ rue, ri, roe ประสมจาก ร + อึ (รึ) เช่น ฤกษ์ บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) เช่น กฤษณะ หรือ /rɤː/ (เรอ) เช่นฤกษ์
  • ฤๅ /rɯː/ rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • /lɯ/ lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ /lɯː/ lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา
  1. คำที่สะกดด้วย –ั + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
  2. สระ เ-ะ แ-ะ เ-าะ ที่มีวรรณยุกต์ ใช้รูปเดียวกับสระ เ– แ- -อ ตามลำดับ เช่น เผ่น เล่น แล่น แว่น ผ่อน กร่อน
  3. คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
  4. สระ เ–อะ ที่มีตัวสะกดใช้รูปเดียวกับสระ เ–อ เช่น เงิน เปิ่น เห่ย
  5. คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– อย่างไรก็ตาม คำที่สะกดด้วย เ– + ย จะไม่มีในภาษาไทย
  6. พบได้น้อยคำ เช่น เทอญ เทอม

วรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์

คำเป็น
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่าง
เสียงระดับเสียงอักษรไทยสัทอักษรสากล
หน่วยเสียงเสียง
สามัญกลางนา/nāː/[naː˧]
เอกกึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียวหน่า/nàː/[naː˨˩] หรือ [naː˩]
โทสูง-ต่ำน่า/หน้า/nâː/[naː˥˩]
ตรีกึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียวน้า/náː/[naː˦˥] หรือ [naː˥]
จัตวาต่ำ-กึ่งสูงหนา/nǎː/[naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦]
คำตาย
เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว อาทิ
เสียงสระตัวอย่าง
อักษรไทยหน่วยเสียงเสียง
เอกสั้นหมัก/màk/[mak̚˨˩]
ยาวหมาก/màːk/[maːk̚˨˩]
ตรีสั้นมัก/mák/[mak̚˦˥]
โทยาวมาก/mâːk/[maːk̚˥˩]
แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย อาทิ
เสียงสระตัวอย่าง
อักษรไทยหน่วยเสียงเสียงอังกฤษ
ตรียาวมาร์ก/máːk/[maːk̚˦˥]Marc, Mark
สตาร์ต/sa.táːt/[sa.taːt̚˦˥]start
บาส (เกตบอล)/báːt (.kêt.bɔ̄n) /[baːt̚˦˥ (.ket̚˥˩.bɔn˧)]basketball
โทสั้นเมคอัพ/méːk.ʔâp/[meːk̚˦˥.ʔap̚˥˩]make-up

รูปวรรณยุกต์

ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
รูปวรรณยุกต์ชื่อ
ไทยสัทอักษร
-่ไม้เอก/máːj.ʔèːk/
-้ไม้โท/máːj.tʰōː/
-๊ไม้ตรี/máːj.trīː/
-๋ไม้จัตวา/máːj.t͡ɕàt.ta.wāː/

การเขียนเสียงวรรณยุกต์

ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
รูปวรรณยุกต์
ไม่เขียน-่-้-๊-๋
อักษรสูงเสียงจัตวาเสียงเอกเสียงโท--
ตัวอย่างขาข่าข้า--
กลางเสียงสามัญเสียงเอกเสียงโทเสียงตรีเสียงจัตวา
ตัวอย่างปาป่าป้าป๊าป๋า
ต่ำเสียงสามัญเสียงโทเสียงตรี--
ตัวอย่างคาค่าค้า--

ไวยากรณ์

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'

วากยสัมพันธ์

ลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคโดยรวมแล้วจะเรียงเป็น 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO) อย่างใดก็ดี ในบางกรณีเช่นในกรณีที่มีการเน้นความหมายของกรรม (topicalization) สามารถเรียงประโยคเป็น กรรม-ประธาน-กริยา ได้ด้วย แต่ต้องใช้คำชี้เฉพาะเติมหลังคำกรรมคำนั้น อาทิ
กรณีลำดับคำตัวอย่าง
ธรรมดา
(unmarked)
ประธาน-กริยา-กรรมวัวกินหญ้าแล้ว
เน้นกรรม
(object topicalization)
กรรม-ประธาน-กริยาหญ้านี้ วัวกินแล้ว
หรือ
หญ้าเนียะ วัวกินแล้ว

สำเนียงย่อย

สำเนียงถิ่นในภาษาไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้

สำเนียงกรุงเทพ

สำเนียงกรุงเทพพบได้หลัก ๆ ในกรุงเทพมหานครฝั่งพระนคร, อำเภอเมืองนนทบุรี, จังหวัดชลบุรี, บางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา และตามอำเภอเมืองต่าง ๆ สำเนียงกรุงเทพเป็นสำเนียงทางการของภาษาไทย, เป็นสำเนียงหลักสำหรับผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ในการพูดภาษาไทยซึ่งปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่สามารถสื่อสารสำเนียงนี้ได้ดีเท่ากับเจ้าของสำเนียง เพราะการขยายตัวของสื่อ, สิ่งพิมพ์, รายการโทรทัศน์, วิทยุ, สื่อออนไลน์ และอื่น ๆ
เป็นสำเนียงทางการของภาษาไทย เดิมทีเป็นการผสมผสานกันระหว่างสำเนียงอยุธยา, สำเนียงสุพรรณบุรีและชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นหลังที่พูดภาษาไทยแทนภาษาหมิ่นใต้และภาษากวางตุ้ง ลักษณะเด่นคือมีการออกเสียงที่ชัดเจนและแข็งกระด้างซึ่งสันนิษฐานว่ารับอิทธิพลจากภาษาแต้จิ๋ว การออกเสียงพยัญชนะ สระ การผันวรรณยุกต์ที่ในภาษาไทยมาตรฐาน มาจากสำเนียงถิ่นนี้ในขณะที่ภาษาไทยสำเนียงอื่นล้วนเหน่อทั้งสิ้น คำศัพท์ที่ใช้ในสำเนียงกรุงเทพจำนวนมากได้รับมาจากกลุ่มภาษาจีนเช่นคำว่า โป๊, เฮ็ง, อาหมวย, อาซิ่ม ซึ่งมาจากภาษาแต้จิ๋ว และจากภาษาจีนกลางเช่น ถู (涂), ชิ่ว (去 อ่านว่า qù"ชวี่") และคำว่า ทาย (猜 อ่านว่า cāi"ไช") เป็นต้น เนื่องจากสำเนียงกรุงเทพได้รับอิทธิพลมาจากภาษาหมิ่นใต้ดังนั้นตัวอักษร "ร" มักออกเสียงเหมารวมเป็น "ล" หรือคำควบกล้ำบางคำถูกละทิ้งไปด้วยเช่น รู้ เป็น ลู้, เรื่อง เป็น เลื่อง หรือ ประเทศ เป็น ปะเทศ เป็นต้น ทำให้สร้างความลำบากให้แก่ต่างชาติที่ต้องการเรียนภาษาไทย แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่พูดสำเนียงถิ่นนี้ก็สามารถออกอักขระภาษาไทยตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้องเพียงแต่มักเผลอไม่ค่อยออกเสียง ในด้านการเรียงคำศัพท์หลายครั้งจะพบกว่าภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพบ่อยครั้งมักวางคำวิเศษณ์ผิดตำแหน่งไม่ว่าจะวางคำคุณศัพท์ไว้ข้างหน้าคำนามและวางคำกริยาวิเศษณ์ไว้หน้าคำกริยา หรือบางสำนวนเป็นการดึงไวยากรณ์จีนมาใช้ภาษาไทยแต่มักจะเป็นภาษาพูด อีกทั้งการใช้ลูกเล่นทางวากยสัมพันธ์มาจากภาษาไทยถิ่นนี้
อย่างไรก็ตาม ภาษาไทยในกรุงเทพยุคแรกนั้น (รัชกาลที่ 1 - 3) บันทึกในพงศาวดารไทยคือสำเนียงแบบกรุงศรีอยุธยา คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เขียนในสมุดข่อยโบราณ คำภีร์ และบันทึกการสร้างเมืองกรุงเทพมหานครเป็นแบบภาษาชาวกรุงศรีอยุธยา รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมซึ่งยังไม่มีอะไรผิดแปลกไปจากเดิมนัก ก่อนที่ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา สำเนียงอยุธยาจึงเริ่มวิวัฒนาการเป็นสำเนียงกรุงเทพจนถึงปัจจุบัน สำเนียงมาตราฐานกรุงเทพมีที่มาจากเขตพระนคร เกาะรัตนโกสินทร์และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชธานีและมีประชากรกระจุกตัวมากในยุคนั้น ในรัชกาลที่ 1 - 3 ยังคงมีการศึกสงครามอยู่มากจึงทำให้ประชาชนไม่ได้ออกไปไหนไกล ชาวกรุงเทพยุคแรกจึงสามารถรักษาอัตลักษณ์แบบชาวกรุงศรีอยุธยาดั้งเดิมไว้ได้ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 - 5 สยามเริ่มขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ มากมาก จึงทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นรวมถึงการค้าขายที่เจริญรุ่งเรือง มีเมืองประเทศราชและรัฐบรรณาการมากมาย มีการเทครัวชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงชาวเขมรลงมาผสมในกรุงเทพหลายครั้ง จึงทำให้สำเนียงกรุงเทพพัฒนามาจนถึงยุคปัจจุบัน เช่นคำว่า จมูก เป็นคำยืมมาจากภาษาเขมร

สำเนียงกรุงเก่า

พบได้ในการแสดงโขนแบบโบราณซึ่งไม่ต้องการความแข็งกระด้างแบบสำเนียงกรุงเทพ พระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่จะฝึกให้พูดสำเนียงถิ่นนี้เพราะเป็นสำเนียงชนชั้นสูงในสมัยก่อน ปัจจุบันสำเนียงกรุงเก่าเป็นภาษาตาย เนื่องจากมีการวิวัฒนาการเป็นภาษาภาคกลางไปแล้ว แต่ยังคงใช้เป็นบทความแต่งกลอน บทนิพนธ์ การแสดงโขน และนาฏศิลป์แขนงต่าง ๆ

สำเนียงอยุธยา

สำเนียงอยุธยาพบได้หลัก ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลางส่วนใหญ่ มีลักษณะเหน่อเล็กน้อย โดยภาพยนตร์ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเช่นสุริโยไท และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งแม้ว่าในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจะพูดสำเนียงสุพรรณบุรี แต่นั่นเป็นเพราะว่าสำเนียงสุพรรณบุรีมีความเหน่อ การฟังอาจจะต้องใช้ความตั้งใจ ดังนั้นสำเนียงนี้จึงมีความเหมาะสมมากกว่า
การออกเสียงในสำเนียงอยุธยาจะค่อนข้างเอื้อนเสียงเหมือนร้องเพลง จึงทำให้มีความเหน่อเล็กน้อยการออกอักขระ "" และ "" จะเข้มงวดกว่าสำเนียงกรุงเทพมาก สำเนียงอยุธยาจะเหน่อคล้ายสำเนียงสุพรรณบุรี แต่สำเนียงสุพรรณบุรีมีความเหน่อมากกว่า มีข้อสันนิษฐานว่าสำเนียงการเล่นโขนในปัจจุบันคือสำเนียงอยุธยาโบราณ ซึ่งยังคงอัตลักษณ์การเอื้อนเสียงเอาไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 1 -3 ยังมีการใช้สำเนียงอยุธยาในกรุงเทพมหานคร และในเขตคลองสาน ซึ่งเป็นชุมชนของชาวกรุงศรีอยุธยาที่ลงมาตั้งรกรากในกรุงเทพมหานคร

สำเนียงสุพรรณบุรี หรือสำเนียงภาคตะวันตก

สำเนียงสุพรรณบุรี, สำเนียงภาคตะวันตก หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า "สำเนียงเหน่อ" เรียกกันในวงศ์กว้างว่าสำเนียงภาคตะวันตก พบได้ในหลายจังหวัดเช่น จังหวัดสุพรรณบุรี, จังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดสมุทรสงคราม, จังหวัดสมุทรสาครบางส่วน และจังหวัดระยอง ปัจจุบันไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่าทำไมภาษาไทยสำเนียงสุพรรณบุรีถึงพบในจังหวัดระยอง
สำเนียงแบบสุพรรณบุรีเป็นสำเนียงที่นิยมนำมาแสดงหนังและร้องเพลง ซึ่งเป็นสำเนียงมาตรฐานในภาคตะวันตกเลยก็ว่าได้ เนื่องจากสำเนียงแบบสุพรรณมีความเหน่อมากจนสามารถแยกออกได้ว่าไม่เหมือนแบบกรุงเทพ ในอำเภอที่ห่างไกลออกไปของจังหวัดสุพรรณบุรีมีสำเนียงที่เหน่อหนักแน่นกว่ามาก ในจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม มีสำเนียงเหน่อที่ลดทอนลงมา แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำเนียงในจังหวัดเหล่านี้มีการออกเสียงวรรณยุกต์และใช้ศัพท์แบบเดียวกับสุพรรณบุรี เพียงแต่มีสำเนียงเหน่อที่ลดลงมา
การออกเสียงจะใกล้เคียงกับสำเนียงอยุธยาแทบทุกอย่าง เพียงแต่มีความเหน่อมากกว่า ปัจจุบันสำเนียงเหน่อชนิดนี้มักเป็นที่ถูกล้อเลียนดูชวนขบขำ บางตำราเรียนหรือนักวิชาการบางท่านเหมารวมสำเนียงสุพรรณบุรีและสำเนียงอยุธยาเข้าด้วยกัน บุคคลที่มีชื่อเสียงที่พูดสำเนียงนี้ เช่นเปาวลี พรพิมล หรือ โอบะ เสียงเหน่อ เป็นต้น

สำเนียงเหน่อแบบเวียงจันทน์

สำเนียงสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงลาวเวียงจันทน์ ใช้พูดในกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว ถึงอย่างไรก็ตามในภาษาลาวเวียงจันทน์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดกับภาษากลางสำเนียงสุพรรณบุรี เนื่องจากภาษาเวียงจันทน์ยังคงอัตลักษณ์ภาษาลาวดั้งเดิมไว้ที่มีไว้ตั้งแต่อาณาจักรล้านช้าง หลายคำในพงศาวดารลาวยังมีใช้คำเหล่านั้นอยู่ในปัจจุบัน เวียงจันทน์ย้ายเมืองหลวงลงมาจากเมืองหลวงพระบาง ในขณะที่สำเนียงลาวหลวงพระบางแทบไม่มีความเหน่อเลย สำเนียงเวียงจันทน์นั้นมีความเหน่อน้อยกว่าสำเนียงทางภาคตะวันตกของประเทศไทยมาก มีการออกเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกัน รวมถึงภาษาไทยภาคกลางและภาษาลาวเวียงจันทน์ต่างก็ไม่ได้มีการยืมคำใด ๆ ทั้งสิ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีสงครามกับทางเวียงจันทน์หลายครั้ง มีการเทครัวชาวลาวเวียงจันทน์มาอยู่ในภาคอีสานและภาคกลางของไทยจำนวนมาก ในจังหวัดราชบุรีมีชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์ที่ถูกเทครัวลงมาอาศัย และในปัจจุบันยังคงพูดภาษาลาวเวียงจันทน์อยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
มีข้อสันนิษฐานที่ชาวลาวเวียงจันทน์พูดเหน่อ อาจเป็นเพราะยุคสงครามเจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งทำลายเมืองเวียงจันทน์ และทางสยามส่นคนไปดูแลปกครองในมณฑลลาวพุงขาว กวาดต้อนชาวลาวเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงมาเป็นจำนวนมาก ศักดินาสยามสมัยนั้นยังคงพูดเหน่อแบบชาวกรุงศรีอยุธยาและคล้ายสำเนียงหลวงสุพรรณบุรี, ในสมัยรัชกาลที่ 5 สยามเสียประเทศลาวให้ประเทศฝรั่งเศส แต่กลับมีชาวลาวเวียงจันทน์เดิมที่คงจงรักภักดีต่อสยามได้ข้ามแม่น้ำโขงตามมาตั้งบ้านเมืองในอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มีการบันทึกไว้ว่าชาวอำเภอท่าบ่อยังคงพูดสำเนียงเวียงจันทน์ดั้งเดิม ซึ่งต่างจากสำเนียงนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาวปัจจุบัน

สำเนียงภาคตะวันออก

บางครั้งเรียกว่าภาษาถิ่นระยอง หรือภาษาถิ่นจันทบุรี พูดกันในแถบจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ปัจจุบันปรากฏว่าภาษาระยองดั้งเดิมนั้นมีจำนวนคนพูดค่อนข้างน้อย ที่พูดได้มักจะเป็นผู้สูงอายุ ทำให้ในขณะนี้มีผู้พยายามฟื้นฟูภาษาระยองขึ้นมาใหม่ทั้งในส่วนราชการและท้องถิ่น โดยทั่วไปแล้วสำเนียงระยองยังแตกต่างกันออกไปอีกในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจยากของคนท้องถิ่นอื่นหรือจังหวัดอื่น สำเนียงทั้ง 3 จังหวัดในภาคตะวันออกนั้นมีการเปรียบเปรยไว้ว่า "ระยองฮิสั้น จันท์ฮิยาว ตราดฮิใหญ่" หมายถึงคำว่า "ฮิ" ซึ่งเป็นคำลงท้ายในสำเนียงภาคตะวันออก ซึ่งแปลว่า "เหรอ" เช่น ไปไหนมาฮิ แปลว่าไปไหนมาเหรอ ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกมีการลากเสียงสั้นและยาวที่แตกต่างกัน[5] แต่ลักษณะสำเนียงและวรรณยุกต์มีส่วนคล้ายกับสำเนียงโคราช ซึ่งเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกันอยู่

สำเนียงกรุงเทพรอบนอก

พบได้ในกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ เดิมรากฐานของสำเนียงถิ่นนี้มาจากแขก, ภาษาปัญจาบ, ภาษาพัชโต, ฝรั่ง และ มอญ
สำเนียงถิ่นนี้มีความใกล้เคียงทั้งสำเนียงกรุงเทพและอยุธยาก็คือ มีความเหน่อเล็กน้อยและ "ร" และ "ล" จะเข้มงวดเหมือนสำเนียงอยุธยาและมีการออกอักขระชัดเจนแบบกรุงเทพรอบในแต่จะเหน่อกว่ากรุงเทพรอบใน ตัวอย่างบุคคลที่พูดสำเนียงถิ่นนี้เช่น สุหฤท สยามวาลา, สุประวัติ ปัทมสูต และ เฉลิม อยู่บำรุง เป็นต้น

สำเนียงสุโขทัย

สำเนียงสุโขทัย เป็นสำเนียงโบราณสมัยกรุงสุโขทัย ปัจจุบันพบได้ในจังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือตอนล่าง สำเนียงสุโขทัยส่งอิทธิพลต่อสำเนียงในจังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งแต่เดิมคือเมืองในอาณาจักรสุโขทัย สำเนียงในภาคเหนือตอนล่างถูกแยกเป็นสาขาย่อยของสำเนียงสุโขทัยอีกทอดหนึ่ง มีการพูดเหน่อคล้ายสำเนียงในภาคตะวันตก แต่การผันวรรณยุกต์และการใช้ศัพท์ต่างท้องถิ่นกันมาก
การออกเสียงสำเนียงนี้จะค่อนข้างคล้ายภาษาถิ่นเหนือมีคำเมืองปนอยู่มาก มีหกวรรณยุกต์เหมือนกับภาษาถิ่นเหนือ นิยมออกเสียงไม้เอกเป็นจัตวาสูง[35] แต่การออกอักขระเสียงเหมือนกับสำเนียงอยุธยาแทบทุกอย่างและเสียงจะห้วนกว่าสำเนียงอยุธยาและกรุงเทพ, "ร" และ "ล" จะเข้มงวดน้อยกว่าสำเนียงอยุธยา แต่ไม่ถูกละทิ้งบ่อย ๆ แบบสำเนียงกรุงเทพ, ออกเสียงพยัญชนะตัว "ฉ" กับ "ช", "ถ" กับ "ท", "ผ" กับ "พ" และ "ฝ" กับ "ฟ" แยกออกจากกัน บุคคลที่มีชื่อเสียงที่พูดสำเนียงนี้อย่างเช่น พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ, บุญธรรม ฮวดกระโทก, มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล และ กรภพ จันทร์เจริญ เป็นต้น
ในอดีตอาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรอิสระ ก่อนที่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อาณาจักรอยุธยาจะผนวกดินแดนรวมกับอาณาจักรสุโขทัย
  • ยุคของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายราชธานีจากอยุธยาขึ้นไปอยู่เมืองพิษณุโลกนานกว่า 20 ปี เนื่องจากอาณาจักรล้านนาแผ่อิทธิพลลงมาทางใต้ และพระเจ้าติโลกราชตีเมืองศรีสัชนาลัยได้ และพระองค์ทรงทำสงครามกับล้านนาหลายครั้ง มีข้อสันนิษฐานว่าภาษาอยุธยาได้ขึ้นไปผสมกับสำเนียงสุโขทัยในยุคนั้น ประกอบกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นลูกครึ่งระหว่างราชวงศ์พระร่วงกับราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระราชบิดาคือเจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยา และพระราชมารดาคือพระธิดาของพระยาไสลือไท จากราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย ทั้ง 2 ทรงอภิเสกสมรสกันเนื่องจากอาณาจักรสุโขทัยตกเป็นรัฐบรรณาการในอาณาจักรอยุธยา และเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี พระบรมไตรโลกนาถทรงถือโอกาศใช้เลือด 2 สายรวมทั้ง 2 อาณาจักรเข้าด้วยกัน และทรงย้ายไปอยู่พระราชวังจันทน์ที่เมืองพิษณุโลกสองแควกับราชนิกูลฝ่ายแม่
  • รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จลงมาจากเมืองพิษณุโลกเพื่อปราบกบฏท้าวศรีสุดาจันทน์ พระศรีสุริโยไทจึงยกพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชธิดาองค์โตให้ไปปกครองหัวเมืองเหนือกับพระมหาธรรมราชาร่วมกันที่เมืองพิษณุโลก พร้อมข้าราชบริพารติดตามขึ้นไปจำนวนหนึ่ง พระวิสุทธกษัตรีทรงสร้างวัดนางพญา ซึ่งคำว่า"นางพญา" หมายถึงพระราชินี หรือเจ้าหญิง ผู้คนพิษณุโลกทรงเรียกพระองค์ว่า"นางพญา" สันนิษฐานว่าคือคำในสำเนียงสุโขทัยและล้านนา
  • เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่1 ราชวงศ์สุพรรณภูมิล่มสลาย พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งพระมหาธรรมราชาจากราชวงศ์พระร่วงสุโขทัยลงมาปกครองกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้วัฒนธรรมทางเหนือลงมาสู่กรุงศรีอยุธยา เช่น ภาษาไทยที่พัฒนามาจากพ่อขุนรามคำแหง, คติความเชื่อการสร้างวัดในเขตพระราชวัง และสถาปัตยกรรมศิลปะสุโขทัย ฯลฯ
  • ในยุคพระนเรศวรมหาราช ทรงเทหัวเมืองเหนือหรือผู้คนในอาณาจักรสุโขทัยลงมาอยู่กรุงศรีอยุธยาเพื่อรับศึกพระเจ้านันทบุเรง จึงทำให้คนในเมืองเหนือและเมืองใต้ผสมกันทางวัฒนธรรม ในอดีตคนเมืองเหนือและคนเมืองใต้ไม่ลงรอยกัน จึงทำให้ยุคสมเด็จพระนเรศรมีผู้คนลงมาผสมกันจำนวนมาก และราชวงศ์พระร่วงได้ปกครองกรุงศรีอยุธยาไปอีกหลายรัชกาล จึงมีส่วนทำให้สำเนียงอยุธยาได้อิทธิพลจากสำเนียงสุโขทัยนานหลายปี และพระนเรศวรเองทรงเป็นลูกครึ่งทั้งแคว้น คือพ่อเชื้อสายสุโขทัย แม่เป็นเจ้าหญิงอยุธยา
ในปัจจุบันสำเนียงสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
  1. สำเนียงสุโขทัยเก่า
  2. สำเนียงสุโขทัยใหม่
โดยสำเนียงสุโขทัยเก่ายังคงรักษาอัตลักษณ์เดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง พบในอำเภอที่อยู่ห่างออกไปจากอำเภอเมือง และผู้พูดมักเป็นผู้สูงอายุ ในขณะที่สำเนียงสุโขทัยใหม่คือสำเนียงที่พัฒนาขึ้นมาจากเดิม มักมีสำเนียงและศัพท์จากกรุงเทพผสม มีการจำกัดขอบเขตในส่วนที่มีทางรถไฟเข้าถึงให้เป็นสำเนียงสุโขทัยใหม่ เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการพัฒนาเข้าถึงและรับวัฒนธรรมจากเมืองหลวงกรุงเทพจนเกิดการเปลี่ยนแปลง สำเนียงสุโขทัยยังเป็นที่รู้จักกันน้อยและยังไม่มีพจนานุกรมภาษาถิ่น

สำเนียงเพชรบุรี

สำเนียงเพชรบุรี พบได้ในจังหวัดเพชรบุรี และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาษาไทยสำเนียงนี้มีความใกล้เคียงกับภาษาถิ่นใต้และได้รับอิทธิพลจากภาษามอญเป็นอย่างมาก
สำเนียงเมืองเพชรที่มีความพูดเร็วคล้ายภาษาถิ่นใต้ มีการลดรูปภาษาให้สั้นและกระชับลง ในขณะที่สำเนียงพูดยังอยู่ในตระกูลภาษาไทยภาคกลาง สำเนียงที่ถูกยกให้เป็นต้นแบบของสำเนียงเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอบ้านลาด การออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาถิ่นใต้เป็นอย่างมากจนทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นภาษาถิ่นใต้ แต่ด้วยลักษณะสำนวนคำและคำศัพท์บางคำนำมาจากภาษาใต้และภาษามอญก็ยังคงความเป็นภาษาไทยถิ่นกลางอยู่เทียบเท่ากับภาษาจิ้นที่มีความใกล้เคียงกับภาษาจีนกลางอย่างมาก ในบางถิ่นมีสำเนียงคล้ายภาคตะวันออก
สำเนียงเพชรบุรีหรือสำเนียงประจวบคีรีขันธ์ ถูกจัดลำดับให้เป็นสำเนียงที่เข้าใจยากที่สุดรองจากสำเนียงโคราช

สำเนียงโคราช


ภาษาไทยสำเนียงโคราช เป็นภาษาไทยกลุ่มหนึ่งที่ใช้พูดกันในจังหวัดนครราชสีมาเกือบทุกอำเภอ ยกเว้น อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน อำเภอบัวใหญ่ เป็นต้น รวมถึงประชากรบางส่วนใช้ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีความใกล้เคียงกับภาษาไทย ที่ออกสำเนียงเหน่อ และมีคำศัพท์ร่วมกับภาษาไทย และรับคำมาใช้จากภาษาถิ่นอีสาน ภาษาลาว และภาษาเขมร
ต้นกำเนิดเชื่อว่าบรรพบุรุษของชาวไทยโคราชอพยพมาจากอยุธยา และแถบจังหวัดชายทะเลตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดนครนายก เป็นต้น เข้ามาในบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียง และได้ผสมกลมกลืนกับกลุ่มคนพื้นเมืองเดิม เกิดเป็นวัฒนธรรมไทโคราช เรียกตนเองว่า ไทโคราช ไทเบิ้ง หรือ ไทเดิ้ง ต่อมาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวลาว ชาวไทยอีสานและชาวเขมร และมีการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวลาว ชาวไทยอีสานและชาวเขมรเข้ามาทีหลัง ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของภาษา โดยมีการยืมคำไทยอีสาน และคำเขมรปะปนเข้ามาใช้ เกิดเป็นคำไทโคราช ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยถิ่นอิสานโดยทั่วไป เพราะยังคงรักษารากศัพท์เดิมไว้คือภาษาไทยกลางนั่นเอง

การยืมคำจากภาษาอื่น

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่น ๆ ค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
  • ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไท ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
  • อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน
คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไท แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • วชิระ (บาลี: วชิระ [vajira]), วัชระ (สันส: วัชร [vajra])
  • ศัพท์ (สันส: ศัพทะ [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี: สัททะ [sadda])
  • อัคนี และ อัคคี (สันส: อัคนิ [agni] บาลี: อัคคิ [aggi])
  • โลก (โลก) - (บาลี-สันส: โลกะ [loka])
  • ญาติ (ยาด) - (บาลี: ญาติ (ยา-ติ) [ñāti])
เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
  • เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ [vīrya], บาลี:วิริยะ [viriya])
  • พฤกษา (สันส:วฤกษะ [vṛkṣa])
  • พัสดุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ) )
เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ) )
เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ) )
  • เทวดา (บาลี:เทวะตา [devatā])
  • วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ) )
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ) )
เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ) )
  • บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพพ) )

ภาษาอังกฤษ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีวิวัฒนาการต่างๆ ทางเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งทำให้มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เช่น
  • ประปา จากคำว่า วอเตอสับไปล (water supply)
  • สถานี จากคำว่า สเตชัน (station)
  • รถยนต์ จากคำว่า รถมอเตอร์คาร์ (motorcar)
  • เรือยนต์ จากคำว่า เรือมอเตอร์ (motorboat)
  • ประมวล จากคำว่า โค้ด (code)

วิกิพีเดีย

No comments:

Post a Comment