GALLERY ANTIQUES

Monday, October 30, 2017

#ภาษาไทยถิ่นเหนือ


ภาษาไทยถิ่นเหนือ



ภาษาถิ่นพายัพ
Lanna-khammeuang.png คำเมือง
ประเทศที่มีการพูดไทย พม่า ลาว กัมพูชา
ภูมิภาคภาคเหนือตอนบนของไทย
จำนวนผู้พูด6 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ไท-กะได
  • กัม-ไท
    • เบ-ไท
      • ไท-แสก
        • ไท
          • ไทตะวันตกเฉียงใต้
            • ไทกลาง-ตะวันออก
              • เชียงแสน
                • ภาษาถิ่นพายัพ

ระบบการเขียนอักษรธรรมล้านนา, อักษรไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-3nod

คำเมือง (คำเมือง: Lanna-Kham Mueang.png ) [กำเมือง]) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย

คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)
ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์
คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ

  • ชื่อ
ภาษาถิ่นภาคพายัพมีชื่อเรียกหลายชื่อ โดยภาษาจากตระกูลภาษาไทต่าง ๆ มีชื่อเรียกซึ่งคล้ายคลึงหรือไม่เหมือนกัน
  • ในภาษาถิ่นพายัพเอง มักเรียกว่า "กำเมือง" (รูปปริวรรต: คำเมือง) อันแปลว่า "ภาษาของเมือง" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "ภาษาล้านนา" ส่วนชาวยวนในจังหวัดราชบุรี เรียกภาษาของตนว่า "ภาษาลาว"
  • ภาษาไทยมาตรฐาน เรียกว่า "ภาษาถิ่นพายัพ", "ภาษาไทยถิ่นเหนือ" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ภาษาเหนือ" หรือ "ภาษายวน" ในอดีตเรียก "ลาวเฉียง" หรือ "คำเฉียง"
  • ภาษาลาว เรียกว่า "ภาษายวน" (ลาว: ພາສາຍວນ, รูปปริวรรต: พาสายวน) หรือ "ภาษาโยน" (ลาว: ພາສາໂຍນ, รูปปริวรรต: พาสาโยน)
  • ภาษาไทลื้อ เรียกว่า "ก๋ำโย่น" (ไทลื้อ: ᦅᧄᦍᦷᧃ, รูปปริวรรต: คำโยน)
  • ภาษาไทใหญ่ เรียกว่า "กว๊ามโย๊น" (ไทใหญ่: ၵႂၢမ်းယူၼ်း, รูปปริวรรต: ความโยน)
นอกจากภาษากลุ่มไทดังกล่าวแล้ว ภาษาอังกฤษ เรียกภาษาถิ่นพายัพว่า "Northern Thai"

พื้นที่การใช้ภาษา

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือไว้ว่า ภาคเหนือตอนบนประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา, แพร่ และน่าน ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาเหนือเป็นภาษากลาง และภาคเหนือตอนล่างประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยกลาง แต่มีเขตที่พูดภาษาไทยถิ่นเหนือด้วยหลายตำบล เช่น ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร, อุตรดิตถ์, พิจิตร และพิษณุโลก
สมทรง บุรุษพัฒน์ ได้ระบุว่าภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาที่พูดกันทางตอนเหนือของไทย ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา, แพร่, น่าน, ตาก, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และบางอำเภอของจังหวัดสระบุรี
กาญจนา เงารังษีและคณะ ได้สรุปผลการศึกษาภาษาถิ่นเหนือที่ใช้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง โดยระบุว่า ภาษาเหนือเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในพื้นที่ 9 จังหวัด คือ กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

ระบบเสียง

ระบบเสียงพยัญชนะ

พยัญชนะต้น

ริมฝีปากริมฝีปากกับฟันปุ่มเหงือกปุ่มเหงือก-
เพดานแข็ง
เพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
นาสิก[m][n][ɲ][ŋ]
ระเบิด[p][pʰ][b][t][tʰ][d][k]([kʰ])**[ʔ]*
เสียดแทรก[f][s][x][h]
กึ่งเสียดแทรก[t͡ɕ]([t͡ɕʰ])**
กึ่งสระ[w][j]
กึ่งสระเปิดข้างลิ้น[l]
* ก่อนหน้าสระ หรือ หลังสระสั้น
** /kʰ/ and /t͡ɕʰ/ มาจากศัพท์ ภาษาไทยกลาง.

พยัญชนะต้นควบกล้ำ

ไม่ปรากฏคำควบกล้ำเสียง ร ล มีคำควบกล้ำเฉพาะเสียง ว เท่านั้น อนึ่งเสียงรัวลิ้น "ร" และเสียงไม่รัวลิ้น "ล" ถือว่าไม่ต่างกัน ซึ่งบางครั้งเสียง "ล" จะกลายเป็นเสียง "ร" ก็ไม่ถือว่าต่างกันแต่อย่างใด
คำควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นเหนือนั้น มี ๑๑ เสียงได้แก่
  • /kw/ กว
  • /xw/ ขว, คว
  • /t͡ɕw/ จว
  • /ŋw/ งว
  • /sw/ ซว
  • /ɲw/ ญว
  • /tw/ ตว
  • /pʰw/ พว
  • /jw/ ยว
  • /lw/ ลว
  • /ʔw/ อว

พยัญชนะสะกด

ริมฝีปากริมฝีปากกับฟันปุ่มเหงือกปุ่มเหงือก-
เพดานแข็ง
เพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
นาสิก[m][n][ŋ]
ระเบิด[p][t][k][ʔ]*
กึ่งสระ[w][j]
* หลังสระสั้นเท่านั้น

ระบบเสียงสระ

สระเดี่ยว

อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ
จะ จา จิ จี จึ จือ จุ จู เจะ เจ แจะ แจ โจะ โจ เจาะ จอ เจอะ เจอ

สระประสม

อัวะ อัว เอียะ เอีย เอือะ เอือ
เสียงสระเอือะ,เอือ จะไม่พบในบางท้องถิ่น คือในถิ่นล้านนาตะวันออก ได้แก่ จังหวัดแพร่, อุตรดิตถ์, น่าน, พะเยา และลำปาง โดยจะออกเสียงเป็นสระเอียะ,เอีย เช่น คำเมือง เป็น กำเมียง (มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)
นอกจากนี้ยังมีสำเนียงแบบเมืองยองซึ่งพูดกันมากในจังหวัดลำพูน โดยจะไม่มีสระประสม สระอัว กลายเป็น โอ สระเอีย กลายเป็น เอ และสระเอือ กลายเป็น เออ เช่น เมือง เป็น เมิง, เกลือ เป็น เก๋อ, สวย เป็น โสย, หมี่เกี๊ยว เป็น หมี่เก๊ว เป็นต้น

ระบบเสียงวรรณยุกต์

วรรณยุกต์ (วัณณยุกต์) ทั้งหกของคำเมืองในพยางค์ '/law/' คือ เหลา เหล่า เหล้า เลา เล่า เล้า ตามลำดับ:

เสียงวรรณยุกต์ในพยางค์เป็น

เสียงวรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มี 6 เสียง คือ เสียงจัตวา, เสียงเอก, เสียงตรีปลายโท, เสียงสามัญ, เสียงโท, และเสียงตรี
เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่าง
อักษรไทยการถอดรหัสเสียงการออกเสียงความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวาเหลา/lǎw/[law˨˦]เหลา, ทำให้คม
เสียงเอกเหล่า/làw/[law˨]เหล่า, ป่า
เสียงตรีปลายโทเหล้า/la᷇w/[la̰w˥˧]เหล้า, เครื่องดืมมึนเมา
เสียงสามัญเลา/lāw/[law˦]งาม
เสียงโทเล่า/lâw/[law˥˩]เล่า, บอกเรื่อง
เสียงตรีเล้า/láw/[la̰w˦˥˦]เล้า, ที่กักไก่

เสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ตาย

เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่าง
อักษรไทยการถอดรหัสเสียงการออกเสียงความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวาหลัก/lǎk/[lak˨˦]เสาหลัก, หลักแหลม
เสียงตรีลัก/lák/[lak˦˥]ลักขโมย, แอบ
เสียงเอกหลาก/làːk/[laːk˨]หลากหลาย
เสียงโทลาก/lâːk/[laːk˥˩]ลาก, ดึง
เสียงวรรณยุกต์บางที่มีถึง 9 เสียง ได้แก่
  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอกต่ำ หรือเสียงเอกขุ่น
  • เสียงเอกสูง หรือเสียงเอกใส
  • เสียงโทต่ำ หรือเสียงโทขุ่น
  • เสียงโทพิเศษ
  • เสียงโทสูง หรือเสียงโทใส
  • เสียงตรีต่ำ หรือเสียงตรีขุ่น
  • เสียงตรีสูง หรือเสียงตรีใส
  • เสียงจัตวา

การพูดคำเมืองในสมัยปัจจุบัน

การพูดคำเมืองที่เป็นประโยคแบบดังเดิมนั้นหายากแล้วเนื่องจากมีการรับอิทธิพลภาษาไทยภาคกลาง ทั้งในสำเนียงและคำศัพท์ ส่วนนี้จะเป็นส่วนรวบรวม ประโยค กำเมือง ดั้งเดิม
  • กิ๋นข้าวแล้วกา = ทานข้าวแล้วหรือยัง
  • ยะอะหยั๋งกิ๋นกา = ทำอะไรทานหรือ
  • ไปตังใดมา = ไปไหนมา
การพูดคำเมืองผสมกับภาษาไทยนั้น คำเมืองจะเรียกว่า แปล๊ด (ปะ-แล๊ด, ไทยแปล๊ดเมือง) ซึ่งโดยมากแล้วมักจะพบใน คนที่พูดคำเมืองมานาน แล้วพยายามจะพูดไทย หรือ คนพูดภาษาไทยพยายามจะพูดคำเมือง เผลอพูดคำทั้ง ๒ ภาษามาประสมกัน อนึ่งการพูดคำเมืองมีการแยกระดับของความสุภาพอยู่หลายระดับ ผู้พูดต้องเข้าใจในบริบทการพูดว่าในสถานการณ์นั้นๆ ต้องพูดระดับภาษาอย่างไรให้เหมาะสมและมีความสุภาพ เพราะมีระบบการนับถือผู้ใหญ่ คนสูงวัยกว่า อาทิเช่น
  • ลำ (อร่อย)
  • ลำแต๊ๆ (สุภาพที่สุด)
  • ลำขนาด (สุภาพรองลงมา)
  • ลำแมะฮาก (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกัน)
  • ลำใบ้ลำง่าว (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกัน)
  • ลำง่าวลำเซอะ (เริ่มไม่สุภาพ ใช้ในหมู่คนที่สนิทกันมากๆ) เป็นต้น

ภาษาไทยถิ่นเหนือนอกเขตภาคเหนือ

ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปี พ.ศ. 2347 ได้มีการเทครัวชาวยวนลงมาในเขตภาคกลาง อาทิ จังหวัดสระบุรี (โดยเฉพาะอำเภอเสาไห้), จังหวัดราชบุรี (มีมากที่อำเภอเมือง, อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอจอมบึง), จังหวัดนครปฐม (โดยเฉพาะอำเภอกำแพงแสน), จังหวัดกาญจนบุรี (โดยเฉพาะอำเภอไทรโยค)จังหวัดลพบุรี (ที่อำเภอชัยบาดาล) และจังหวัดนครราชสีมา (เฉพาะอำเภอสีคิ้ว) โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรีมีชาวยวนราว 70,000-80,000 คน และมีชาวยวนแทบทุกอำเภอ ยกเว้นเพียงแต่อำเภอดำเนินสะดวกกับวัดเพลงเท่านั้น

ซึ่งภาษาไทยวนทุกจังหวัดมีหน่วยเสียง พยัญชนะและหน่วยเสียงสระเหมือนกัน รายละเอียดในวรรณยุกต์แทบไม่แตกต่างกัน ยกเว้นภาษายวนลพบุรีที่มีหน่วยเสียงแตกต่างจากอีก 4 จังหวัดเพียงหน่วยเสียงเดียว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวยวนลพบุรีได้อาศัยปะปนอยู่กับหมู่บ้านชาวลาว อาจทำให้หน่วยเสียงเปลี่ยนแปลงก็เป็นได้

คำศัพท์

คำเมืองในจังหวัดอื่น

คำเมืองในจังหวัดอื่น เช่น จังหวัดลำปาง, แพร่, น่าน, เชียงราย, พะเยา และอุตรดิตถ์ (ในบางอำเภอ) ก็มีการใช้คำบางคำที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วจะสื่อสารกันเข้าใจในกลุ่มคนเหนือ เช่น
ภาษาไทยกลางมาตรฐานภาษาไทยถิ่นเหนือ
สำเนียงเชียงใหม่สำเนียงจังหวัดอื่น
คำศัพท์หมายเหตุคำศัพท์หมายเหตุ
พ่อ แม่ป้อ แม่
พี่ชายอ้ายเปรียบไทใหญ่ อ้าย "พี่ชายคนแรก"ปี้
พี่สาวปี้เย้ย, เย้, ใย้เปรียบไทใหญ่ เหย้ "พี่สาวคนแรก"
อา, น้าอา, น้าอาว (ผู้ชาย), อา (ผู้หญิง)เปรียบลาว อาว "อาผู้ชาย"
ฝรั่ง (ผลไม้)บะก้วยก๋าจาก หมากกล้วยกาบะแก๋ว,บะมั้น,มะเปา(อุตรดิตถ์บางอำเภอ)จาก หมากแกว, หมากมัน
ผักชีหอมป้อมหอมน้อย(หอมหน้อย)
มะละกอบะก้วยเต้ดจาก หมากกล้วยเทศบะเต้ดจาก หมากเทศ
ช้างจ๊างจ้าง
น้ำน้ำน่าม
เที่ยวแอ่ว
นอกจากนี้ สำเนียงในของคำเมืองในกลุ่มนี้จะออกสั้นและห้วนกว่า โดยที่เห็นได้ชัดคือเสียงตรีในเชียงใหม่ ลำพูน จะเป็นเสียงโทในจังหวัดอื่น เช่น บ่ะฮู้ แปลว่า ไม่รู้ เป็นสำเนียงเชียงใหม่ แต่จะออกเสียงว่า บ่ะฮู่ ในสำเสียงอื่น, กิ๋นน้ำ ที่แปลว่า ดื่มน้ำ จะออกเสียงเป็น กิ๋นน่ำ, สามร้อย ออกเสียงเป็น สามร่อย เป็นต้น

ความแตกต่างจากภาษาไทยกลาง

ความแตกต่างทางด้านระบบเสียง

โดยมากแล้วภาษาไทยกลางและคำเมืองมักมีเสียงที่เหมือนกันยกเว้นบางครั้ง ที่ไม่เหมือนแต่คล้ายกันได้แก่ เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำมักตรงกับเสียงสิถิล (unaspirate) เช่น จาก "ท" เป็น "ต" (เช่น "ทาง" เป็น "ตาง"), "ช" เป็น "จ" (เช่น "ช้อน" เป็น "จ๊อน"), "พ" เป็น "ป" (เช่น "แพง" เป็น "แปง"), "ค" เป็น "ก" (เช่น "คำ" เป็น "กำ") เป็นต้น โดยมักจะคงเสียงวรรณยุกต์เดิม (เช่น "ใช้" เป็น "ใจ๊") อย่างไรก็ตาม เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำที่ตรงกับเสียงโฆษะบาลีมักมีเสียงที่ตรงกันในทั้งสองภาษา เช่น ภาพ เป็น ภาพ และ ธรรม เป็น ธัมม์ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำที่ตามด้วย ร ในไทยกลางมักตรงกับเสียงธนิตแต่ไม่มี ร ตามในคำเมือง เช่น คราว เป็น คาว, ครั้ง เป็น คั้ง, และ พระ เป็น พะ นอกจากนี้แล้ว ยังมีความแตกต่างที่อื่นด้วย ได้แก่ เสียง ร ในไทยกลางมักตรงกับเสียง ฮ และ ล เป็นบางคำ คำเมือง (เช่น "เรา" เป็น "เฮา") เสียง ย ที่สะกดด้วย ทั้ง ย และ ญ ในภาษาไทยมักตรงกับเสียง ย นาสิก ซึ่งไม่มีในภาษาไทยกลาง และถิ่นใต้ (เช่น "หญ้า" เป็น "หญ้า (นาสิก)"
นอกจากความแตกต่างทางด้านพยัญชนะแล้ว ทั้งสองมีความแตกต่างทางด้านเสียงวรรณยุกต์อีกด้วย คำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรกลาง(ยกเว้น ด, บ, อย, และ อ)ในคำเป็นภาษาไทยที่มีเสียงสามัญมักตรงกับเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "ตัว" เป็น "ตั๋ว", "ใจ" เป็น "ใจ๋") แต่ในคำพ้องเสียงของภาคกลาง ในภาษาเหนือนั้นอาจจะออกเสียงไม่เหมือนกัน ส่วนในคำตายนั้นเสียงเอกมักตรงกับเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "หัก" เป็น "หั๋ก")
อักษรไทยประเภทในภาษาไทยกลางเสียงคำเมืองตัวอย่างความหมาย
ก, จ, ต/ฏ, ปอักษรกลางอโฆษะก, จ, ต, ป ตามลำดับก๋า, จ๋าน, ต๋า, ป๋า ตามลำดับกา, จาน, ตา, ปลา ตามลำดับ
ด/ฎ/ฑ, บ, อย, ออักษรกลางโฆษะ และ อด, บ, อย, อ ตามลำดับด้าว, บ่าว, อย่า, อาว ตามลำดับด้าว, บ่าว, อย่า, อาผู้ชาย (อาว์) ตามลำดับ
ค, ช, ท, พอักษรต่ำโฆษะบาลีก, จ, ต, ป ตามลำดับก้า, จ๊าง, ตาง, ปา ตามลำดับค่า, ช้าง, ทาง, พา ตามลำดับ
ฅ, ซ, ฟอักษรต่ำเสียดแทรกค, ซ, ฟ ตามลำดับคืน, ซ้ำ, ฟ้า ตามลำดับกลับคืน, ซ้ำ, ฟ้า ตามลำดับ
ฆ, , ธ/ฒ (ยกเว้น "เฒ่า"), ภอักษรต่ำธนิตค, , ท , พ ตามลำดับ
ข, , ถ/ฐ, ผ, ฝอักษรสูงธนิตข, , ถ, ผ, ฝ ตามลำดับขา, สัตร, ถง, ผ้า, ฝา ตามลำดับขา, ร่มฉัตร, ถุง, ผ้า, ฝา ตามลำดับ
ศ/ษ/สอักษรสูงเสียดแทรกสายสาย
กร, ตร, ปรอักษรกลาง + รข, ก, ผ ตามลำดับขาบ, กง, ผาสาท ตามลำดับกราบ, ตรง, ปราสาท ตามลำดับ
คร, พรอักษรต่ำ + รค, พ ตามลำดับคั้ง, พ้า ตามลำดับครั้ง, พร้า ตามลำดับ
ย, , ล/ฬ , ว, ฮอักษรต่ำกึ่งสระ และ ฮญ (นาสิก), (บางครั้ง ล ในคำภาษาบาลี), ล , ว, ฮ ตามลำดับญาว (นาสิก), เฮือ, ลอง , ว่า, ฮิ ตามลำดับยาว, เรือ, ลอง, ว่า, พยายาม ตามลำดับ
ง, , น/ณ, มอักษรต่ำนาสิกง, ญ (นาสิก), น, ม ตามลำดับงู, ใหญ่ (นาสิก), นา, ม้า ตามลำดับงู, ใหญ่, นา, ม้า ตามลำดับ
ห, หง, หย/หญ, หน, หม, หร/หล, หวอักษรต่ำ ห และ ห นำห, หง, หญ (นาสิก), หน, หม, หล, หว ตามลำดับหา, เหงา, หญ้า (นาสิก), หนู, หมู, หลาน, แหวน ตามลำดับหา, เหงา, หญ้า, หนู, หมู, หลาน, แหวน ตามลำดับ

วิกิพีเดีย

No comments:

Post a Comment