การเก็บสะสมแสตมป์
การสะสมแสตมป์ คือ การเก็บสะสมและรวบรวมแสตมป์ ตลอดจนสิ่งสะสมอื่น ๆ เช่น ซองจดหมาย ถือเป็นงานอดิเรกที่นิยมมาก
ประเภท
- ยังไม่ได้ใช้ (unused) เป็นแสตมป์ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน สภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยประทับตราไปรษณีย์ กาวด้านหลังยังคงใช้งานได้
- ใช้แล้ว (used) เป็นแสตมปที่ผ่านการใช้งานแล้ว มีรอยประทับตราไปรษณีย์ ไม่มีกาวติดด้านหลังเนื่องจากผ่านการชำระด้วยน้ำ หรืออาจมีอยู่บ้างก็ใช้งานได้ไม่ดี
การสะสมแสตมป์ที่ไม่ได้ใช้ต้องเสียเงินซื้อแสตมป์มาไม่ว่าจากที่ทำการไปรษณีย์หรือร้ายขายแสตมป์ แต่ถ้าสะสมแสตมป์แบบใช้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทุน สามารถนำซองจดหมายไปแช่น้ำและลอกเอาแสตมป์ที่ติดอยู่ออกมาได้
การสะสมแสตมป์แบบต่าง ๆ
- สะสมแสตมป์ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งอาจรวมถึงของสะสมอื่นที่ไปรษณีย์นำออกจำหน่าย เช่น ชีทที่ระลึก ซองวันแรกจำหน่าย ซองที่ระลึก บัตรตราไปรษณียากรที่ระลึก และบัตรภาพตราไปรษณียากรด้วย
- สะสมสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการไปรษณีย์ เช่น ไปรษณียบัตร จดหมายอากาศ ซองจดหมายมาตรฐาน ป้ายลงทะเบียน และสมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็ก
- สะสมตราประทับ บนแสตมป์ ซองจดหมาย และไปรษณียบัตร
- สะสมแสตมป์ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เช่น แสตมป์รูปสัตว์ รูปกีฬา เป็นต้น
สภาพของแสตมป์ที่สมบูรณ์และวิธีการเก็บรักษา
แสตมป์ที่สะสม ถ้ามีสภาพดีจะถือเป็นสิ่งของที่มีมูลค่า สามารถนำไปขายต่อได้ราคาดี ซึ่งสภาพแสตมป์ที่ดี มีดังนี้
- ฟันแสตมป์ต้องอยู่ครบ ไม่ขาดหายไปเนื่องจากความผิดพลาดระหว่างการฉีกแสตมป์ออกจากกัน
- ไม่มีรอยเหลือง ขึ้นรา สนิม (เชื้อราสีแดง) หรือมีสีซีดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษาเป็นส่วนสำคัญ
- ไม่มีรอยพับหรือรอยถลอก ไม่ว่าด้านหน้าหรือด้านหลังแสตมป์
- สำหรับแสตมป์ที่ยังไม่ใช้ จะต้องมีกาวด้านหลังครบ กรณีที่เป็นแสตมป์เก่าก็อนุโลมให้มีอาจมีรอยฮินจ์ได้
- สำหรับแสตมป์ที่ใช้แล้ว ตราประทับต้องไม่เลอะเกินไป
แสตมป์ยังไม่ได้ใช้โดยเฉพาะแสตมป์เก่า ๆ ถ้ามีสภาพดีเหมือนกับที่เพิ่งซื้อจากไปรษณีย์ นิยมเรียกว่าสภาพนอก หรือ mint เนื่องจากทางประเทศทางตะวันตกมีความชื้นต่ำ แสตมป์ไม่ค่อยเหลืองหรือขึ้นรา
แสตมป์ที่ไม่ได้คุณภาพตามที่ระบุไว้ มักมีมูลค่าต่ำลงมาก ดังนั้นเวลาเลือกซื้อหรือคัดเลือกแสตมป์มาสะสมจะต้องสังเกตให้ดี อีกทั้งวิธีการเก็บรักษาแสตมป์ก็มีส่วนสำคัญมาก เพื่อให้แสตมป์เลื่อมสภาพตามกาลเวลาช้าที่สุด
การเก็บรักษาแสตมป์
โดยมีคำแนะนำในการเก็บดังนี้
- เก็บในที่ไม่ชื้น ไม่มีอุณหภูมิสูง ไม่โดนแสงแดด ไม่มีมอดหรือปลวก สำหรับสภาพอากาศในประเทศไทยควรเก็บในห้องปรับอากาศถึงแม้ว่าไม่เปิดเครื่องตลอดวัน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ
- อัลบั้มแสตมป์ที่ใช้ก็ควรเป็นแบบมีเมาท์ในตัว หรือมีการห่อเมาท์เพื่อป้องกัน
- วางอัลบั้มแสตมป์ในแนวตั้ง ป้องกันกาวแสตมป์ไปติดกับอัลบั้ม และไม่ให้รอยดุนนูนของแสตมป์รุ่นใหม่ ๆ เลือนหายไป
- จับแสตมป์ด้วยปากคีบเท่านั้น
อุปกรณ์การสะสมแสตมป์
- อัลบั้มแสตมป์ สำหรับบรรจุและรักษาสภาพของแสตมป์ มีอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้
- ปากคีบ (stamp tongs) ใช้สำหรับหยิบจับแสตมป์ ถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น เนื่องจากการจับแสตมป์ด้วยมือ เหงื่อจากนิ้วมือจะทำให้แสตมป์เหลืองและเสื่อมค่าลงหลังจากเก็บแสตมป์ไปหลายปี ปากคีบที่ใช้จะต้องเป็นแบบที่ผลิตสำหรับการสะสมแสตมป์โดยเฉพาะ กล่าวคือ ปลายต้องบางเพื่อสามารถจับแสตมป์ออกจากอัลบั้มได้สะดวก แต่ปลายต้องไม่คมจนทำให้แสตมป์เป็นรอยจากการหยิบจับ
- แค็ตตาล็อกแสตมป์ (stamp catalogue) เป็นหนังสือรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ ของแสตมป์ทุกชุดเท่าที่พิมพ์ขึ้นรวมไปถึงราคาซื้อขายด้วย มีการพิมพ์เล่มใหม่ทุก ๆ 2-3 ปี
- เมาท์ (mount) และที่ตัดเมาท์ (mount cutter)
อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีประโยชน์ในการศึกษาแสตมป์
- แว่นขยาย (magnifying glass) สำหรับส่องดูรายละเอียดต่าง ๆ บนดวงแสตมป์
- มาตรวัดฟันแสตมป์ (perforation gauge) สำหรับวัดขนาดของฟันแสตมป์
- หลอดรังสีอัลตราไวโอเล็ต (ultraviolet lamp) สำหรับดูหมึกเรืองแสงที่พิมพ์บนแสตมป์
- วิกิพีเดีย
- https://goal90antique.blhttps://goal90antique.blogspot.com/ogspot.com
No comments:
Post a Comment