GALLERY ANTIQUES

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

                             


พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง
Phu Wiang Dinosaur Museum
Museum Dinosaur KK.jpg
ลานโถงด้านหน้าของอาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง
พิพิธภัณฑ์
ก่อตั้งพ.ศ. 2544
งานสะสมธรณีวิทยา,ซากดึกดำบรรพ์
สิ่งที่น่าสนใจภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี
สยามโมซอรัส สุธีธรนี
สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
กินรีไมมัส
คอมพ์ซอกเนธัส
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
ที่ตั้งอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
ประเทศ ไทย
พิกัด16°40′42″N 102°21′13″E
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง (อังกฤษ: Phu Wiang Dinosaur Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาแห่งหนึ่ง

 โดยเน้นที่การจัดแสดงเรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ สังกัดกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์โคกสนามบินเนื้อที่ 100 ไร่ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 และอยู่ในความกำกับดูแลของกรมทรัพยากรธรณี เริ่มเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เปิดให้บริการระหว่างเวลา 09.00 - 17.00 น. ปิดบริการทุกวันจันทร์ ยกเว้นวันจันทร์ที่ตรงกับวัดหยุดนักขัตฤกษ์จะเปิดให้บริการตามปกติ

    การค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทย


    ส่วนปลายของกระดูกต้นขาหลังด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอโรพอดถือเป็นหลักฐานไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทย
    สืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2513 หน่วยสำรวจธรณีวิทยาจากสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปสำรวจแหล่งแร่ในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และได้พบแร่ยูเรเนียมชนิดคอฟฟินไนต์เกิดร่วมกับแร่ทองแดงชนิดอะซูไรต์และมาลาไคต์ ทำให้ต่อมาองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงานปรมาณูเข้าไปสำรวจเพิ่มเติมด้วย ระหว่างปี พ.ศ. 2518 ตลอดจน 2523 
                             
    กรมทรัพยากรธรณีได้เข้าไปทำการเจาะสำรวจในรายละเอียด ในปี พ.ศ. 2519 นายสุธรรม แย้มนิยม นักธรณีวิทยา ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์เศษกระดูกไดโนเสาร์บริเวณพื้นลำห้วยประตูตีหมา และต่อมาวินิจฉัยได้ว่าเป็นเศษส่วนปลายของกระดูกขาหลังท่อนบนด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอริสเชียในกลุ่มซอโรพอด (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มี 4 ขา คอยาว หางยาว) โดยถือได้ว่าเป็นการค้นพบหลักฐานไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทยที่นำไปสู่การสำรวจและวิจัยอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบัน

    การสำรวจและวิจัย

    นับจากการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณี โดยโครงการความร่วมมือด้านบรรพชีวินวิทยา ไทย-ฝรั่งเศส ได้ทำการสำรวจไดโนเสาร์บนเทือกเขาภูเวียงอย่างต่อเนื่อง มีการค้นพบกระดูก ฟัน และรอยตีนไดโนเสาร์จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พบอยู่ในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียสตอนต้น (ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว) มีทั้งไดโนเสาร์ซอโรพอดและเทอร์โรพอด หลากหลายสายพันธุ์ และมีขนาดตั้งแต่ตัวเท่าแม่ไก่ ไปจนถึงมีลำตัวยาวจากหัวจรดหางมากกว่า 15 เมตร 


    นับเป็นการค้นพบที่สำคัญ ทำให้คนไทยมีความตื่นตัวเดินทางไปเยี่ยมชมแหล่งไดโนเสาร์ที่เทือกเขาภูเวียงอย่างต่อเนื่อง และรวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรหลุมขุดค้นที่ 2 ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 และได้เสด็จพระราชดำเนินพาคณะกรรมการรางวัลนานาชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2551

    การพัฒนาแหล่งไดโนเสาร์ภูเวียง

    นับตั้งแต่ที่มีการประกาศก่อตั้งอุทยานแห่งชาติภูเวียง ในปี พ.ศ. 2534 นั้น จังหวัดขอนแก่น อำเภอภูเวียง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี และหน่วยงานของรัฐหลายภาคส่วน ได้เล็งเห็นความสำคัญของแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง

     การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ทั้งหมด 4 หลุม ประกอบด้วย หลุมที่ 1 หลุมที่ 2 หลุมที่ 3 และหลุมที่ 9 โดยการสร้างอาคารคลุมหลุมเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับกระดูกไดโนเสาร์ และยังก่อสร้างทางเดินเท้าเชื่อมต่อระหว่างหลุม ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาแล้ว ยังเป็นแหล่งเดินชมธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงอีกด้วย อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง

    กำเนิดพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

    การค้นพบแหล่งไดโนเสาร์บนเทือกเขาภูเวียง ถือเป็นการค้นพบที่สร้างชื่อเสียงให้กับเทือกเขาภูเวียงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไดโนเสาร์ซอโรพอดสกุลและชนิดใหม่จากภูเวียงที่ชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี ที่ใช่ชื่อภูเวียงเป็นชื่อสกุล และใช้นามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นชื่อชนิดนั้น
     ยิ่งทำให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวาง ทำให้หน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานมีความเห็นว่าสมควรก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงขึ้น และได้เลือกพื้นที่สาธารณประโยชน์โคกสนามบินเนื้อที่ 100 ไร่เป็นสถานที่ก่อสร้าง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างในส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ทั้งด้วยเนื้อที่ใช้สอย 5,500 ตารางเมตร กรมทรัพยากรธรณีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำกับดูแล โดยได้ทำการจัดนิทรรศการถาวร และเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2544

    องค์ประกอบของพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

    พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง มีการจัดองค์ประกอบการดำเนินงานอย่างครบวงจร มีการจัดพื้นที่ดำเนินงานประกอบด้วย ส่วนสำรวจและวิจัย ส่วนอนุรักษ์และทำเทียมชิ้นส่วนตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ ส่วนคลังตัวอย่าง ห้องสมุด ส่วนนิทรรศการถาวร ส่วนบริหารจัดการ และพื้นที่บริการได้แก่ โรงอาหาร ร้านขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก และลานจอดรถ รวมถึงห้องประชุมขนาด 140 ที่นั่ง
     พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรณีวิทยามีการจัดกิจกรรมร่วมกับสถานศึกษาต่างๆ และรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ เช่น มูลนิธิด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงมีโอกาสต้อนรับคณะนักท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    สายพันธุ์ไดโนเสาร์จากภูเวียง


    • ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
    • สยามโมซอรัส สุธีธรนี
    • สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
    • กินรีไมมัส ขอนแก่นเอนซิส
    • คอมพ์ซอกเนธัส
    • แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ภูเวียง

    เส้นทางเข้าถึง


    แผนที่แสดงเส้นทางเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง
    คำว่า ภูเวียง ในชื่อพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง สืบเนื่องจากพื้นที่พิพิธภัณฑ์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภูเวียง มีหน่วยงานราชการในอำเภอเวียงเก่า 3 หน่วยงานหลักที่ยังคงมีคำว่าภูเวียง คือ อุทยานแห่งชาติภูเวียง โรงเรียนภูเวียงวิทยายน และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง 

    นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่ามีการแยกอำเภอเวียงเก่าออกจากอำเภอภูเวียง จึงขออย่าได้สับสน การเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง หากเริ่มต้นที่เมืองขอนแก่น (ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 444 กม.) ให้เดินทางไปตามเส้นทางสาย 12 (ถนนมะลิวัลย์) ผ่านอำเภอบ้านฝางอำเภอหนองเรือ เลยอำเภอหนองเรือไป 3 กม. ให้เลี้ยวขวาไปอำเภอภูเวียง ถึงอำเภอภูเวียงให้ตรงไปเข้าหุบเขาภูเวียง จนถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ด้วยระยะทางประมาณ 80 กม.

    วิกิพีเดีย

    No comments:

    Post a Comment